เมื่อโลกใบนี้ไม่ใช่สวรรค์ของเด็กเจเนอเรชั่น Y
เป็นอีกหนึ่งบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจาก U.S.News สำหรับผู้ที่มีลูก ๆ เป็นเด็กเจเนอเรชั่น Y เพราะตอนนี้ถึงเวลาที่เด็กเจน Y ต้องก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานกันแล้ว แต่โลกการทำงานของเด็กเจน Y ในมุมมองของบทวิเคราะห์นี้จะสดใสเหมือนโลกการทำงานของยุคพ่อแม่หรือไม่ คงต้องติดตามกันดูค่ะ
โดยรายงานจากสื่อแดนอินทรีครั้งนี้ได้อ้างอิงจากหนังสือ Not Quite Adults ของ Richard Settersten and Barbara เกี่ยวกับเด็กเจเนอเรชั่น Y (หรือก็คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุไม่เกิน 30 ปี หรือเกิดในช่วง ค.ศ. 1980 - 2000) ที่ผู้ใหญ่หลายคนมองว่า กว่าจะก้าวสู่โลกของผู้ใหญ่นั้นกินเวลานานกว่าเจเนอเรชั่นอื่น ๆ แต่นั่นเป็นเพราะเด็กเจน Y ต้องเผชิญกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ตลอดจนแนวทางการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่เปลี่ยนไปนั่นเอง
โดยผู้รายงานได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยแรก นั่นคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้การหางานทำของเด็กเจน Y นั้น ต้องแข่งขันสูง เพื่อจะให้ได้มาซึ่งหน้าที่การงาน ไม่เพียงเท่านั้น รายงานยังระบุว่า หากนำเงินเดือนของเด็กในยุคก่อน ๆ ตอนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ มาเปรียบเทียบกับเด็กเจน Y ในยุคนี้ จะพบว่า เด็ก ๆ เจน Y ได้รับเงินเดือนเดือนแรกน้อยกว่าจนยากจะตั้งตัวได้ในเร็ววัน (ในประเทศไทยก็คงมองเห็นภาพนี้กันค่อนข้างชัด กับเงินเดือนของพนักงานจบใหม่ที่มักถูกกำหนดให้อยู่ระหว่าง 7,000 - 9,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายรอบตัวที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร)
อีกทั้งเด็กในยุคนี้ยังมีภาระหนี้ติดตัวมา เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจ่ายหนี้คืนนั้น ในหลายประเทศ เรียกเก็บในอัตราที่ค่อนข้างสูง เช่น ในสหรัฐอเมริกานั้น อาจต้องจ่ายคืนถึงเดือนละ 500 เหรียญเลยทีเดียว ทำให้โอกาสที่จะลืมตาอ้าปากของเด็กเจน Y ต้องยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง หรือจนกว่าที่พวกเขาจะชำระหนี้ครบ จึงจะได้เริ่มสะสมเงินเพื่ออนาคตของตนเอง
เมื่อสภาพการทำงาน และการใช้ชีวิตเป็นเช่นนี้ ทำให้เด็ก ๆ เจเนอเรชั่น Y หลายคนเลือกอาศัยอยู่กับพ่อแม่ เพราะไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ไหว ซึ่งอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับสังคมเอเชีย แต่การทำเช่นนั้นใน สังคมตะวันตกกลับเป็นเรื่องที่แปลก และแตกต่าง จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนส่วนหนึ่งจะมองเด็กเจน Y ว่า ไม่แกร่งกล้ามากพอที่จะนับว่าเป็นผู้ใหญ่ในโลกแห่งการแข่งขันเช่นนี้
จากบทวิเคราะห์ของ U.S.News ระบุด้วยว่า เด็ก ๆ ในยุคนี้มองการเป็นหนี้ในแง่ลบ และหวาดกลัวการเป็นหนี้ ดังจะเห็นได้จากเด็ก ๆ เจน Y ไม่กล้าลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ชิ้นใหญ่ ๆ เท่ากับคนวัยเดียวกันเมื่อในอดีต (เช่น ซื้อบ้านเป็นต้น) หรือการลงทุนเปิดกิจการ ทำธุรกิจใหม่ ๆ ลงทุนด้านการศึกษา โดยมีความคิดติดตัวว่า ฉันไม่สามารถซื้อของราคาแพงเช่นนั้นได้ แล้วก็เลิกฝันไปโดยปริยาย และนั่นคืออีกเหตุผลหนึ่งของการที่พวกเขาย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว โอกาสที่จะก้าวหน้าของเด็ก ๆ ในเจเนอเรชั่นนี้จึงค่อนข้างช้ากว่าเด็กในยุคก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาขาดการสนับสนุนจากพ่อแม่ด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้เขาต้องควานหาความสำเร็จนานขึ้นเป็นเงาตามตัว
ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่คอยสะกัดการเติบโตของเด็กในยุคนี้ก็มีอีก เช่น การต้องเป็นพ่อแม่ตั้งแต่วัยรุ่น การเรียนไม่จบ ซึ่งเด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลืออีกมากกว่าจะพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
อย่างไรก็ดี มุมน่ารักของเด็กเจน Y ก็มีไม่น้อย เช่น เด็กในเจเนอเรชั่นนี้มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อแม่มากกว่าเด็กรุ่นก่อน ๆ และเจ้าความใกล้ชิดนี้เองทำให้เด็กสะดวกใจที่จะกลับบ้านมาหา มาอยู่กับพ่อแม่มากกว่าเด็กในอดีต โดยจำนวนของเด็กจบใหม่ที่ยังอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ในประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 1960 มาเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 แล้ว
สำหรับประเทศไทย หลายข้อเป็นสิ่งที่เด็กเจน Y ของเราก็ต้องเผชิญไม่ต่างกัน เช่น การกระจุกตัวของแหล่งงานที่มักอยู่ตามเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ ๆ เด็กจบใหม่จึงต้องเลือกจ่ายค่าเช่าหอแสนแพง ค่าอาหารแสนแพงเพื่อแลกกับเงินเดือนเริ่มต้นต่ำ ๆ เพื่อผลประโยชน์ของนายทุน และความหวังว่า สักวันหนึ่งชีวิตจะดีกว่านี้
หรือคุณว่าไม่ใช่
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว โอกาสที่จะก้าวหน้าของเด็ก ๆ ในเจเนอเรชั่นนี้จึงค่อนข้างช้ากว่าเด็กในยุคก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาขาดการสนับสนุนจากพ่อแม่ด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้เขาต้องควานหาความสำเร็จนานขึ้นเป็นเงาตามตัว
ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่คอยสะกัดการเติบโตของเด็กในยุคนี้ก็มีอีก เช่น การต้องเป็นพ่อแม่ตั้งแต่วัยรุ่น การเรียนไม่จบ ซึ่งเด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลืออีกมากกว่าจะพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
อย่างไรก็ดี มุมน่ารักของเด็กเจน Y ก็มีไม่น้อย เช่น เด็กในเจเนอเรชั่นนี้มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อแม่มากกว่าเด็กรุ่นก่อน ๆ และเจ้าความใกล้ชิดนี้เองทำให้เด็กสะดวกใจที่จะกลับบ้านมาหา มาอยู่กับพ่อแม่มากกว่าเด็กในอดีต โดยจำนวนของเด็กจบใหม่ที่ยังอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ในประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 1960 มาเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 แล้ว
สำหรับประเทศไทย หลายข้อเป็นสิ่งที่เด็กเจน Y ของเราก็ต้องเผชิญไม่ต่างกัน เช่น การกระจุกตัวของแหล่งงานที่มักอยู่ตามเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ ๆ เด็กจบใหม่จึงต้องเลือกจ่ายค่าเช่าหอแสนแพง ค่าอาหารแสนแพงเพื่อแลกกับเงินเดือนเริ่มต้นต่ำ ๆ เพื่อผลประโยชน์ของนายทุน และความหวังว่า สักวันหนึ่งชีวิตจะดีกว่านี้
หรือคุณว่าไม่ใช่
ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น