ศึกษา"ความเป็นผู้นำ"และ"การทำงานเป็นทีม"จากทฤษฎี"ฝูงห่านไซบีเรีย"
หากพิจารณาดูดีๆ กฎเกณฑ์ทางธรมชาติ ได้มอบปรัชญาและการดำรงชีวิตที่ละเอียดอ่อนและมหัศจรรย์ไว้ให้มนุษย์เสมอ ไม่ว่าจะเป็น วงจรขึ้น-ลงของพระอาทิตย์ ที่แสดงถึงโอกาสในการแสดงประโยชน์ของคนเราว่ามีทั้งขาขึ้นและขาลง ไม่มีใครรักษา อำนาจ และกอดความก้าวหน้า เอาไว้กับตัวเองได้ตลอดเวลา การทำงานทุกอย่างรวมไปถึงการกระทำต้องรู้จัก "จังหวะ" "เวลา" และ "โอกาส" รวมไปถึงการยอมรับความสามารถของตนเอง ไปจนถึงปรัชญายอดภูเขา ยิ่งสูงยิ่งหนาว ที่สอนให้คนเราพึงระวังเมื่อก้าวขึ้นไปยืนอยู่บนตำแหน่ง "ยอดภูเขา" ที่สูงและลมแรง
หลักการบินของ “ฝูงห่านไซบีเรีย” เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ถูกนำปรับใช้เป็นจิตวิทยาองค์กร โดย โปรเฟซเซอร์ ดร.ลีโอนาร์ด โยง นักจิตวิทยา และวิทยากรชื่อดังชาวมาเลเซีย จากสถาบัน IITD โดยหยิบมาสร้าง "ทฤษฎีผู้นำ" โดยเรียนรู้วิธีการบินของฝูงห่าน ซึ่งแสดงถึงการทำงานเป็น"ทีม"
"หลักการบินของห่านไซบีเรีย สอนถึงการทำงานเป็นทีม และสอนวิธีการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างยุติธรรม หน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอด และพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด จำเป็นต้องมีร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพ ภายใต้ขีดความสามารถที่มี โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็พอใจ ไม่เกิดความขัดแย้งแ ละยังได้รับการพัฒนาความสามารถในตัวเองอยู่ตลอดเวลา" มร.โยง กล่าว
ในช่วงฤดูหนาว ห่านไซบีเรียจะพากันอพยพย้ายถิ่นฐาน เพื่อไปหากินในทำเลใหม่ที่อบอุ่นกว่า เนื่องจากในอาณาบริเวณแถบไซบีเรียนั้น เต็มไปด้วยน้ำแข็ง อากาศหนาวจนอุณหภูมิติดลบ
ด้วยความที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอากาศหนาวจนหากินลำบาก และไม่มีอาหารหลงเหลือเพียงพอสำหรับรองรับความเป็นอยู่ พวกห่านจึงต้องขวนขวาย หาทางออกด้วยการบินอพยพหนีกันไปเป็นฝูง ร่วมหลายร้อยตัวด้วยสภาพที่ต้องเจอได้แก่ ระยะทางการบินหลายร้อยไมล์ การบินด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้หยุดพักผ่อน ณ บริเวณใดที่บินผ่านเลยแม้แต่นิดเดียว อาหารและกำลังที่จำกัด พวกมันมีวิธีการทำการกันอย่างไร? โดยไม่หยุดพักและบินกันไปอย่างสามัคคีเป็นกลุ่มก้อน
ข้อเท็จจริง ห่านทุกตัวมีวิธีการบินที่กางปีกเป็นรูปตัว V ห่านที่เป็นจ่าฝูง จะบินนำห่านตัวอื่นๆ เพื่อ "ต้านกระแสลม" ลดแรงกระแทกจากลมที่พัดเข้ามาตลอดระยะการบิน
จากการพิสูจน์พบว่า การบินไปพร้อมๆ กันเป็นกลุ่มก้อนรูปตัว V อย่างพร้อมเพรียงกัน ห่านที่เป็นจ่าฝูงจะช่วยสามารถช่วยต้านลดแรงกระแทก และลดความเร็วที่ลมจะเข้ามาปะทะห่านตัวอื่นๆ ที่บินถัดกันไปเป็นลำดับ มากกว่าที่ห่านตัวใดตัวหนึ่งจะบินกันอย่างกระจัดกระจายหรือบินไปตัวเดียวหรือบินเดี่ยวๆ
บทเรียน จากการบินกางปีกเป็นรูปตัว V ของฝูงห่านแสดงถึง การออกแรงอย่างเต็มที่ของ "ห่านจ่าฝูง" รวมถึงทำงานกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ที่สมาชิกในทีมต้องมีการรับรู้ทิศทางการบินอย่างพร้อมเพรียงกันว่า ณ ขณะนี้การบินกันไปเป็นกลุ่มจะมีความเร็วเท่าไหร่? และมีทิศทางการบินอย่างไร?
ผู้บริหารจึงควรสื่อสารเป้าหมายในการทำงาน และมีการสื่อสารกำกับผู้ร่วมงานในทีมงานทั่วทุกคนอยู่ตลอดเวลา ว่าขณะนี้อยู่ในระยะบินช้า บินเร็ว บินสูง บินต่ำ จะทำให้เกิดความเข้าใจใน ทิศทาง การทำงาน (Direction) และเกิดความเข้าใจกำหนดบทบาท ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข้อเท็จจริง เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในฝูงรู้สึกเหนื่อย หรือบินด้วยความเร็วที่ต่ำลง จากระดับการบินปกติ แรงต้านจากกระแสลมจะเกิดขึ้น ทางออกคือ เคลื่อนย้าย "ห่านตัวนั้น" ไปบินพยุงตัว หรือพักผ่อนอยู่ด้านหลังของแถว ซึ่งใช้กำลัง และแรงในการบินน้อยกว่าการบินของห่านในตำแหน่งอื่นๆ ส่วนห่านตัวอื่นๆ ที่ยังแข็งแรง ควรถูกขับเคลื่อนมาบินในตำแหน่ง ด้านหน้า เพื่อรับกับการฝ่าแรงของกระแสลมตลอดระยะเส้นทางที่ยาวไกล
บทเรียน ลักษณะการ บินพยุงตัว หรือการ บินสลับตำแหน่งหน้า - หลัง เป็นตัวแทนของการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันว่า ในชีวิตการทำงานต้องมีการหยุดเพื่อพักผ่อน หรือผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ตาม เนื่องจากไม่มีห่านตัวใดที่สามารถบินด้วยความเร็วสูงคงที่ ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา และในการทำงานเป็นทีม ก็ไม่มีห่านตัวใดที่บินช้า และกินแรงห่านตัวอื่นๆ โดยการบินอยู่ในตำแหน่งท้ายโดยตลอด
ข้อเท็จจริง วิธีการบินของห่านข้อนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานในทีม ผลัดกันเป็นผู้ให้ และผลัดกันเป็นผู้รับ รวมไปถึง "ผลัดกันเป็นผู้นำ" และ "ผลัดกันเป็นผู้ตาม" ช่วยกันรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายมา อย่างเต็มใจตลอดเวลา
ความจริง อีกข้อหนึ่งคือ ห่านทุกตัวต้องมีการพักผ่อน เพื่อออมแรงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตรงกับความเป็นจริงที่ว่าสภาพของห่าน ที่บินอย่างหักโหมตลอดเวลา โดยไม่รู้จักจังหวะในการพักผ่อน ห่านตัวนั้นในช่วงเวลาที่เหนื่อยอาจจะหมดแรง และอยากจะหยุดบิน ไปเลย ซึ่งส่งผลกระทบให้กับการทำงานเป็นทีม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตการทำงาน
ห่านที่รู้จักวิธีการทำงาน ที่ถูกสุขอนามัยในระยะยาว และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบินอย่างสม่ำเสมอ การทำงานเป็นทีมต้อง"รู้จักจังหวะเวลา" ที่จะบินผ่อน หรือจังหวะเวลาการบินแบบออกกำลังทุ่มเทอย่างเต็มที่ ห่านทุกตัวจึงจะสามารถมุ่งหน้า อพยพย้ายถิ่นจะมีการหมุนเวียนสลับกัน และบินสลับตำแหน่งกัน ด้วยวิธีการบินสลับตำแหน่งกันไป
บทเรียน การทำงานร่วมกันไปเป็นทีม ทีมงานทุกคนต้องมีส่วนช่วยเหลือในผลงานกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ไม่มีใครที่สามารถทำงานหนักตลอดเวลา โดยที่ไม่มีช่วงเวลาในการ "เบรก" หรือพักผ่อน และก็ต้องไม่มีห่านตัวไหนในทีมที่สามารถบินอย่างเรื่อยๆ สบายๆ เหมือนบินอยู่ตัวเดียวโดดๆ บนฟ้า ในขณะที่ฝูงห่านตัวอื่นๆ กำลังบินขับเคลื่อนฝูงห่านมุ่งไปสู่หนทางข้างหน้าด้วยความเร็วสูงอย่างคงที่ ตลอดระยะทางอันยาวไกลอย่างพร้อมเพรียงกัน
สาเหตุที่ฝูงห่านต้อง "บินสลับตำแหน่งกันไป" เกิดจากว่า ตำแหน่ง "จ่าฝูง" เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้แรง และพละกำลังมากที่สุด ต้องมีการบินสลับบ้างบางจังหวะ เพื่อการพักผ่อน การบินไปเป็นกลุ่มก้อน สามารถสะท้อนถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ห่านตัวอื่นๆ ก็ต้องมีการใช้กำลัง ความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ห่านทุกตัวต่างก็รอคอยอย่างมีความหวังว่า หนทางข้างหน้ายังมีแหล่งน้ำและอาหารอันอุดมสมบูรณ์
ข้อเท็จจริง วิธีการบินเฉพาะตำแหน่งของห่านแต่ละตำแหน่ง มีบทบาทและความรับผิดชอบไม่เท่ากัน การที่ห่านที่อยู่ตำแหน่งด้านหน้าที่เป็นจ่าฝูง ต้องใช้กำลังในการบินและต้องออกแรงมากที่สุดตลอดเวลา ห่านที่บินอยู่แถวหลังก็ยังสามารถบินพยุงตัว" หรือ "บินกางปีกอยู่เฉยๆ ในลักษณะผ่อนแรง วิธีการแบบ "การบินสลับตำแหน่งกัน" เป็นกระบวนการทำงานเป็นทีม ที่สอนให้ฝูงห่านต่างฝ่ายต่างรับรู้ความรับผิดชอบ และบทบาทหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายซึ่งกันและกันอย่างทั่วถึง
หากการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่เคยมีปรากฏการณ์ "การผลัดเปลี่ยน" งานหมุนเวียนความรับผิดชอบกัน ห่านที่บินอยู่ข้างหลัง ก็จะอยากเปลี่ยนมาบินในตำแหน่งข้างหน้า ขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่งข้างหน้า ก็อยากย้ายไปกำกับอยู่ข้างหลัง
บทเรียน การกำหนดวิธีการบิน "เฉพาะตำแหน่ง" ของห่าน สอนให้รู้ว่า "การทำงานเป็นกลุ่ม" ต้องมีการสื่อสารบทบาทและหน้าที่ และกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกันตาม "ความสามารถ" และ "ตระหนัก" ถึงคุณค่าของตำแหน่งการบินของห่านแต่ละตัวว่า มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงานกันเป็นทีม
เพราะหากไม่มีการรับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญและหน้าที่ในการบินไปเป็นลักษณะรูปตัว V สลับกันไปแต่ละตำแหน่ง ห่านแต่ละตัวจะไม่รู้คุณค่าของ "ตำแหน่ง" ที่ตัวเองบินอยู่ และอยากที่จะบินเรียงแถวหน้ากระดาน เนื่องจากความต้องการกำกับการบินและต้องการได้รับ "การยอมรับ" ด้วยความเข้าใจที่ผิดว่า "ตำแหน่งจ่าฝูง เป็นตำแหน่งที่สามารถควบคุมทิศทางการบินของฝูงห่านทั้งหมดและบินได้ง่ายที่สุด
ในขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่ง "จ่าฝูง" ก็อยากย้ายไปบินอยู่ข้างหลัง เนื่องจากไม่สามารถบินต้านกระแสลมโดยไม่หยุดพักตลอดเส้นทางการบิน จึงเกิดการบริหารงานเป็นทีม อย่างกลับข้างกันเป็นรูป < กลับข้าง เนื่องจากห่านที่เป็น จ่าฝูง ก็อยากจะเปลี่ยนตำแหน่งไปบินในลักษณะ "กำกับงานอยู่ด้านหลัง"
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ทำให้ห่านที่บินอยู่ในตำแหน่งหลังสุดรับภาระมากที่สุดอยู่ดี ถึงแม้ว่าจะมีการบินเปลี่ยนตำแหน่งการกำกับแถว
โปรเฟซเซอร์ ดร.โยง ยังบอกว่า "การบินไปเป็นกลุ่มของห่าน" ยังสอนให้ทีมงานรับรู้ไว้ในความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ลักษณะการบินไปเป็นกลุ่มอย่างถูกวิธี เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในทีมป่วย บาดเจ็บ หมดแรง หรือถูกยิงตกลงไป ห่านทั้งฝูงนั้นก็ยังสามารถบินกันไปเป็นกลุ่มก้อนอยู่ได้ตลอดเส้นทางการบิน...
หลักการบินของ “ฝูงห่านไซบีเรีย” เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ถูกนำปรับใช้เป็นจิตวิทยาองค์กร โดย โปรเฟซเซอร์ ดร.ลีโอนาร์ด โยง นักจิตวิทยา และวิทยากรชื่อดังชาวมาเลเซีย จากสถาบัน IITD โดยหยิบมาสร้าง "ทฤษฎีผู้นำ" โดยเรียนรู้วิธีการบินของฝูงห่าน ซึ่งแสดงถึงการทำงานเป็น"ทีม"
"หลักการบินของห่านไซบีเรีย สอนถึงการทำงานเป็นทีม และสอนวิธีการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างยุติธรรม หน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอด และพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด จำเป็นต้องมีร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพ ภายใต้ขีดความสามารถที่มี โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็พอใจ ไม่เกิดความขัดแย้งแ ละยังได้รับการพัฒนาความสามารถในตัวเองอยู่ตลอดเวลา" มร.โยง กล่าว
ในช่วงฤดูหนาว ห่านไซบีเรียจะพากันอพยพย้ายถิ่นฐาน เพื่อไปหากินในทำเลใหม่ที่อบอุ่นกว่า เนื่องจากในอาณาบริเวณแถบไซบีเรียนั้น เต็มไปด้วยน้ำแข็ง อากาศหนาวจนอุณหภูมิติดลบ
ด้วยความที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอากาศหนาวจนหากินลำบาก และไม่มีอาหารหลงเหลือเพียงพอสำหรับรองรับความเป็นอยู่ พวกห่านจึงต้องขวนขวาย หาทางออกด้วยการบินอพยพหนีกันไปเป็นฝูง ร่วมหลายร้อยตัวด้วยสภาพที่ต้องเจอได้แก่ ระยะทางการบินหลายร้อยไมล์ การบินด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้หยุดพักผ่อน ณ บริเวณใดที่บินผ่านเลยแม้แต่นิดเดียว อาหารและกำลังที่จำกัด พวกมันมีวิธีการทำการกันอย่างไร? โดยไม่หยุดพักและบินกันไปอย่างสามัคคีเป็นกลุ่มก้อน
ข้อเท็จจริง ห่านทุกตัวมีวิธีการบินที่กางปีกเป็นรูปตัว V ห่านที่เป็นจ่าฝูง จะบินนำห่านตัวอื่นๆ เพื่อ "ต้านกระแสลม" ลดแรงกระแทกจากลมที่พัดเข้ามาตลอดระยะการบิน
จากการพิสูจน์พบว่า การบินไปพร้อมๆ กันเป็นกลุ่มก้อนรูปตัว V อย่างพร้อมเพรียงกัน ห่านที่เป็นจ่าฝูงจะช่วยสามารถช่วยต้านลดแรงกระแทก และลดความเร็วที่ลมจะเข้ามาปะทะห่านตัวอื่นๆ ที่บินถัดกันไปเป็นลำดับ มากกว่าที่ห่านตัวใดตัวหนึ่งจะบินกันอย่างกระจัดกระจายหรือบินไปตัวเดียวหรือบินเดี่ยวๆ
บทเรียน จากการบินกางปีกเป็นรูปตัว V ของฝูงห่านแสดงถึง การออกแรงอย่างเต็มที่ของ "ห่านจ่าฝูง" รวมถึงทำงานกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ที่สมาชิกในทีมต้องมีการรับรู้ทิศทางการบินอย่างพร้อมเพรียงกันว่า ณ ขณะนี้การบินกันไปเป็นกลุ่มจะมีความเร็วเท่าไหร่? และมีทิศทางการบินอย่างไร?
ผู้บริหารจึงควรสื่อสารเป้าหมายในการทำงาน และมีการสื่อสารกำกับผู้ร่วมงานในทีมงานทั่วทุกคนอยู่ตลอดเวลา ว่าขณะนี้อยู่ในระยะบินช้า บินเร็ว บินสูง บินต่ำ จะทำให้เกิดความเข้าใจใน ทิศทาง การทำงาน (Direction) และเกิดความเข้าใจกำหนดบทบาท ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข้อเท็จจริง เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในฝูงรู้สึกเหนื่อย หรือบินด้วยความเร็วที่ต่ำลง จากระดับการบินปกติ แรงต้านจากกระแสลมจะเกิดขึ้น ทางออกคือ เคลื่อนย้าย "ห่านตัวนั้น" ไปบินพยุงตัว หรือพักผ่อนอยู่ด้านหลังของแถว ซึ่งใช้กำลัง และแรงในการบินน้อยกว่าการบินของห่านในตำแหน่งอื่นๆ ส่วนห่านตัวอื่นๆ ที่ยังแข็งแรง ควรถูกขับเคลื่อนมาบินในตำแหน่ง ด้านหน้า เพื่อรับกับการฝ่าแรงของกระแสลมตลอดระยะเส้นทางที่ยาวไกล
บทเรียน ลักษณะการ บินพยุงตัว หรือการ บินสลับตำแหน่งหน้า - หลัง เป็นตัวแทนของการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันว่า ในชีวิตการทำงานต้องมีการหยุดเพื่อพักผ่อน หรือผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ตาม เนื่องจากไม่มีห่านตัวใดที่สามารถบินด้วยความเร็วสูงคงที่ ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา และในการทำงานเป็นทีม ก็ไม่มีห่านตัวใดที่บินช้า และกินแรงห่านตัวอื่นๆ โดยการบินอยู่ในตำแหน่งท้ายโดยตลอด
ข้อเท็จจริง วิธีการบินของห่านข้อนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานในทีม ผลัดกันเป็นผู้ให้ และผลัดกันเป็นผู้รับ รวมไปถึง "ผลัดกันเป็นผู้นำ" และ "ผลัดกันเป็นผู้ตาม" ช่วยกันรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายมา อย่างเต็มใจตลอดเวลา
ความจริง อีกข้อหนึ่งคือ ห่านทุกตัวต้องมีการพักผ่อน เพื่อออมแรงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตรงกับความเป็นจริงที่ว่าสภาพของห่าน ที่บินอย่างหักโหมตลอดเวลา โดยไม่รู้จักจังหวะในการพักผ่อน ห่านตัวนั้นในช่วงเวลาที่เหนื่อยอาจจะหมดแรง และอยากจะหยุดบิน ไปเลย ซึ่งส่งผลกระทบให้กับการทำงานเป็นทีม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตการทำงาน
ห่านที่รู้จักวิธีการทำงาน ที่ถูกสุขอนามัยในระยะยาว และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบินอย่างสม่ำเสมอ การทำงานเป็นทีมต้อง"รู้จักจังหวะเวลา" ที่จะบินผ่อน หรือจังหวะเวลาการบินแบบออกกำลังทุ่มเทอย่างเต็มที่ ห่านทุกตัวจึงจะสามารถมุ่งหน้า อพยพย้ายถิ่นจะมีการหมุนเวียนสลับกัน และบินสลับตำแหน่งกัน ด้วยวิธีการบินสลับตำแหน่งกันไป
บทเรียน การทำงานร่วมกันไปเป็นทีม ทีมงานทุกคนต้องมีส่วนช่วยเหลือในผลงานกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ไม่มีใครที่สามารถทำงานหนักตลอดเวลา โดยที่ไม่มีช่วงเวลาในการ "เบรก" หรือพักผ่อน และก็ต้องไม่มีห่านตัวไหนในทีมที่สามารถบินอย่างเรื่อยๆ สบายๆ เหมือนบินอยู่ตัวเดียวโดดๆ บนฟ้า ในขณะที่ฝูงห่านตัวอื่นๆ กำลังบินขับเคลื่อนฝูงห่านมุ่งไปสู่หนทางข้างหน้าด้วยความเร็วสูงอย่างคงที่ ตลอดระยะทางอันยาวไกลอย่างพร้อมเพรียงกัน
สาเหตุที่ฝูงห่านต้อง "บินสลับตำแหน่งกันไป" เกิดจากว่า ตำแหน่ง "จ่าฝูง" เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้แรง และพละกำลังมากที่สุด ต้องมีการบินสลับบ้างบางจังหวะ เพื่อการพักผ่อน การบินไปเป็นกลุ่มก้อน สามารถสะท้อนถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ห่านตัวอื่นๆ ก็ต้องมีการใช้กำลัง ความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ห่านทุกตัวต่างก็รอคอยอย่างมีความหวังว่า หนทางข้างหน้ายังมีแหล่งน้ำและอาหารอันอุดมสมบูรณ์
ข้อเท็จจริง วิธีการบินเฉพาะตำแหน่งของห่านแต่ละตำแหน่ง มีบทบาทและความรับผิดชอบไม่เท่ากัน การที่ห่านที่อยู่ตำแหน่งด้านหน้าที่เป็นจ่าฝูง ต้องใช้กำลังในการบินและต้องออกแรงมากที่สุดตลอดเวลา ห่านที่บินอยู่แถวหลังก็ยังสามารถบินพยุงตัว" หรือ "บินกางปีกอยู่เฉยๆ ในลักษณะผ่อนแรง วิธีการแบบ "การบินสลับตำแหน่งกัน" เป็นกระบวนการทำงานเป็นทีม ที่สอนให้ฝูงห่านต่างฝ่ายต่างรับรู้ความรับผิดชอบ และบทบาทหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายซึ่งกันและกันอย่างทั่วถึง
หากการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่เคยมีปรากฏการณ์ "การผลัดเปลี่ยน" งานหมุนเวียนความรับผิดชอบกัน ห่านที่บินอยู่ข้างหลัง ก็จะอยากเปลี่ยนมาบินในตำแหน่งข้างหน้า ขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่งข้างหน้า ก็อยากย้ายไปกำกับอยู่ข้างหลัง
บทเรียน การกำหนดวิธีการบิน "เฉพาะตำแหน่ง" ของห่าน สอนให้รู้ว่า "การทำงานเป็นกลุ่ม" ต้องมีการสื่อสารบทบาทและหน้าที่ และกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกันตาม "ความสามารถ" และ "ตระหนัก" ถึงคุณค่าของตำแหน่งการบินของห่านแต่ละตัวว่า มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงานกันเป็นทีม
เพราะหากไม่มีการรับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญและหน้าที่ในการบินไปเป็นลักษณะรูปตัว V สลับกันไปแต่ละตำแหน่ง ห่านแต่ละตัวจะไม่รู้คุณค่าของ "ตำแหน่ง" ที่ตัวเองบินอยู่ และอยากที่จะบินเรียงแถวหน้ากระดาน เนื่องจากความต้องการกำกับการบินและต้องการได้รับ "การยอมรับ" ด้วยความเข้าใจที่ผิดว่า "ตำแหน่งจ่าฝูง เป็นตำแหน่งที่สามารถควบคุมทิศทางการบินของฝูงห่านทั้งหมดและบินได้ง่ายที่สุด
ในขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่ง "จ่าฝูง" ก็อยากย้ายไปบินอยู่ข้างหลัง เนื่องจากไม่สามารถบินต้านกระแสลมโดยไม่หยุดพักตลอดเส้นทางการบิน จึงเกิดการบริหารงานเป็นทีม อย่างกลับข้างกันเป็นรูป < กลับข้าง เนื่องจากห่านที่เป็น จ่าฝูง ก็อยากจะเปลี่ยนตำแหน่งไปบินในลักษณะ "กำกับงานอยู่ด้านหลัง"
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ทำให้ห่านที่บินอยู่ในตำแหน่งหลังสุดรับภาระมากที่สุดอยู่ดี ถึงแม้ว่าจะมีการบินเปลี่ยนตำแหน่งการกำกับแถว
โปรเฟซเซอร์ ดร.โยง ยังบอกว่า "การบินไปเป็นกลุ่มของห่าน" ยังสอนให้ทีมงานรับรู้ไว้ในความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ลักษณะการบินไปเป็นกลุ่มอย่างถูกวิธี เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในทีมป่วย บาดเจ็บ หมดแรง หรือถูกยิงตกลงไป ห่านทั้งฝูงนั้นก็ยังสามารถบินกันไปเป็นกลุ่มก้อนอยู่ได้ตลอดเส้นทางการบิน...
MyAragon เส้นทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
MyAragon ธุรกิจที่รวม3เทรนด์แห่งโลกอนาคตเป็นหนึ่งเดียว
โทร.089-071-8889 คุณ อานนท์
LINE ID : jumbolife
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น