ธรรมะเพื่อชีวิต
7 วิธีคิด พิชิตทุกสถานการณ์
ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ ชอบแสวงหา “เครื่องมือ” โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะเอาไปทำอะไร ชอบถามหา “แผนที่” โดยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะไปไหน วิ่งหา “บันได” เพื่อเอาไปใช้พาดตึก โดยยังไม่รู้เลยว่าเป็นตึกหลังไหน หลายคนโชคดีที่พบเครื่องมือ แต่โชคร้ายที่มันเอาไปทำยาหยอดตาอะไรไม่ได้ หลายคนโชคดีที่ได้พบแผนที่ แต่ก็โชคร้ายเพราะเมื่อได้แผนที่มา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปไหนแน่ ส่วนคนที่โชคดีได้พบบันได แต่ก็ดันโชคร้าย เพราะผ่าเอาไปพาดผิดตึก!
สรุปแล้ว ผู้คนชอบถามว่า “จะทำอย่างไร” มากกว่าจะถามว่า “จะทำอะไร” และหรือ “จะทำไปทำไม” ชอบถามถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ โดยที่ก็ไม่เคยรู้เลยว่า แล้วความสำเร็จของเขานั้น มันคืออะไร และมันหมายถึงอะไร
อาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนส่วนมากแสวงหากันแต่ “เทคนิควิธีการ” จนละเลย หลงลืมใน “หลักการ” และหรือ “กฎเกณฑ์” อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดไป
คุรุหลายท่านจึงล้วนสรุปฟันธงลงไปเปรี้ยงเลยว่า “คนเรานั้น ไม่ได้ขาด ‘วิธีทำ’ หรอก แต่ขาด ‘วิธีคิด’ ต่างหาก!” ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่งยวด ล้านเปอร์เซ็นต์!
ดังนั้น ในครั้งนี้ ผมจึงใคร่นำเสนอ “วิธีคิด 7 ประการ” ซึ่งผมเชื่อว่าจะสามารถเป็นคำตอบ และเป็นประโยชน์ ทั้งในระดับ“ปัจเจกบุคคล” และในระดับ “สังคม” ได้เลยทีเดียว วิธีคิด 7 ประการ มีดังนี้ :-1. ยอมรับสิ่งที่เป็น
2. มุ่งเน้นสิ่งที่มี
3. บ่งชี้สิ่งที่ทำได้
4. ใส่ใจสิ่งที่ต้องการ
5. ยึดมั่นกับเป้าหมาย
6. สอดส่ายหาโอกาส
7. หมายมาดการสร้างสรรค์
ขออภิปรายในแต่ละประการพอสังเขป ดังนี้
1. ยอมรับสิ่งที่เป็น : ในข้อนี้นี่ จะขออภิปรายยาวกว่าข้ออื่นๆ สักหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และต้องมีมาก่อนข้ออื่น เพราะที่มันเป็นปัญหา ก็เพราะเรามักไม่ยอมรับอย่างที่มันเป็น อย่างที่มันดำรงอยู่ ไม่ว่าจะอะไรทั้งนั้น เราชอบตัดสินว่าถูกหรือผิด (ตามเกณฑ์บรรทัดฐานของเราเองเสียอีกด้วย) เราชอบตีความว่ามันแปลว่าอย่างโน้นอย่างนี้ (ตามกรอบความคิดของเรา) เราชอบคาดหวังว่ามันควรจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ (ตามมาตรฐานที่เราตั้งขึ้น) เราชอบควบคุม, กะเกณฑ์ ให้คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ให้เป็นไปตามที่เราคิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ (ตามที่เรารู้สึก) สรุปคือ เราทำตัวเสมือนเป็น “ศูนย์กลางแห่งจักรวาล” ที่ทุกอย่างจะต้องมาขึ้นต่อ และหมุนรอบตัวเรา!
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างว่ามันเป็นเรื่องปกติ มันเป็นเรื่องธรรมดา หรืออย่างที่คำพระท่านว่า ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง และถ้าพูดตามภาษาพระอีกที ก็ต้องบอกว่า เราไม่ยอม “ปล่อยวาง” นั่นเอง การ “ปล่อยวาง” คือการยอมรับอย่างที่มันเป็นอยู่ ดำรงอยู่ และเห็นว่ามันเป็นสิ่งปกติ มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นสิ่งที่ก็ต้องเป็นไปเช่นนั้น มันไม่ใช่เรื่องว่าอะไรดีหรือไม่ดี อะไรถูกอะไรผิด เราชอบหรือไม่ชอบ เราเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งไม่ว่าเราจะเป็นเช่นไร สรรพสิ่งทั้งหลายมันก็จะต้องเป็นของมันเช่นนั้นอยู่ดี เท่านั้นเอง
มันดูง่ายที่เราจะยอมรับว่ามีกลางวันก็ต้องมีกลางคืน มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีผู้หญิง ก็ต้องมีผู้ชาย มีง่าย ก็ต้องมียาก ฯลฯ เรายอมรับสิ่งที่ว่ามานี้ได้ และเห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เหตุใดมันจึงดูยากเย็นเข็ญใจเสียเหลือเกินที่คนเราจะยอมรับว่ามีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีสบายก็ต้องมีลำบาก มีโชคดีก็ต้องมีโชคร้าย มีความสำเร็จก็ต้องมีความล้มเหลว มีอารมณ์ดีก็ต้องมีอารมณ์เครียด มีสบายใจก็ต้องมีความกังวลใจ ฯลฯ ทั้งๆ ที่มันก็เป็นเรื่องหลักการเดียวกันกับมีกลางวันก็ต้องมีกลางคืน ฯลฯ ทำไมเราจึงเลือกที่จะยอมรับแต่ความสุข ความสบาย ความโชคดี ความสำเร็จ การมีอารมณ์ดี การมีความสบายใจ ฯลฯ เพียงเท่านั้น แต่กลับไม่ยอมรับอีกครึ่งหนึ่งของมัน นี่ก็เท่ากับว่าคนเรามักยอมรับความจริงกันเพียง “ครึ่งเดียว” เท่านั้นหรือ?
ชีวิตมันไม่ง่ายกว่าหรือ ถ้าเราจะยอมรับมันทั้งหมด ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน มันไม่ใช่คนละเรื่อง ที่เราจะตัดมันทิ้งไปได้ ความทุกข์ ความลำบาก โชคร้าย ความล้มเหลว อารมณ์เครียด ความกังวลใจ ฯลฯ มันไม่ใช่ “ส่วนเกิน” หรือ “ไส้ติ่ง” ที่ไม่มีประโยชน์ที่เราจะตัดมันทิ้งไปได้ มีคำกล่าวว่า “โชคดีกับโชคร้ายมันก็เหมือนเกลียวเชือก ที่ต้องพันคู่กันไปตลอดทาง” ประเด็นสำคัญของสัจธรรมคำกล่าวนี้ที่ต้องการสอนเรา ก็คือมันเป็นเรื่องของ “โชค” “โชค” คำเดียวโดดๆ เท่านั้น เราทุกคนล้วนต้องพบ “โชค” เมื่อต้องพบ “โชค” มันก็ต้องพบทั้งสองเกลียวของมัน คือ ได้พบทั้งโชคดีและโชคร้าย มันเป็นเรื่องปกติ มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นเรื่อง “โชคทั้งหมด” ไม่ใช่ “โชคครึ่งเดียว!” ที่เราจะมานั่งเลือกเอาได้ตามอำเภอใจ เราทำได้เพียงต้อนรับมัน และโอบกอดมันไว้ทั้งหมด!
หากมองไปในเชิงสังคม การที่บ้านเมืองของไทยเรากำลังเกิดเหตุการณ์ที่เราชอบใช้คำว่า “วิกฤติ” ไปแล้วนั้น เราก็ต้องยอมรับมันในฐานะของ “วิวัฒนาการ” ไม่ใช่มองแค่เพียงว่าเป็น “อุปสรรค” ทุกประเทศในโลกล้วนต้องมี “วิวัฒนาการ” ไปด้วยกันทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ยอมรับว่ามันเป็น “วิวัฒนาการ” แต่มองว่ามันเป็น “อุปสรรค” เราก็จะมองมันอย่างหงุดหงิดรำคาญใจ ไปจนถึงคับข้องใจว่ามันไม่น่าเกิดขึ้นเลย ทำไมคนไทยต้องมาฆ่าแกงกันเอง ทำไมจะต้องมีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งข้าง แบ่งสี แล้วเนี่ยนะถ้าไม่เกิดเรื่องแบบนี้ เราก็จะเจริญไปถึงแบบนั้นๆ ถ้าไม่เป็นแบบนี้ เราคงจะเป็นแบบนั้นไปได้ตั้งนานแล้ว แล้วทำไมไม่ทำกันแบบนี้ล่ะ เราจะได้ผลลัพธ์เป็นแบบนั้นแน่ๆ อะไรกันนี่ มันเกิดเรื่องแบบนี้กันได้อย่างไร ฯลฯ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม นี่คือ “วิวัฒนาการ” ถ้าสังคมไทยไม่อาจจัดการเรื่องที่กำลังเผชิญอยู่นี้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มันก็เป็น
วิวัฒนาการที่สังคมไทยจะต้องก้าวไปสู่การล่มสลายในที่สุด แล้วมันแปลกตรงไหนล่ะ? อาณาจักรบาบิโลน อาณาจักรกรีก อาณาจักรโรมัน ฯลฯ ซึ่งยิ่งใหญ่กว่าประเทศไทยเป็นสิบเป็นร้อยเท่า ก็ต้องมีวิวัฒนาการล่มสลายไป มันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าสังคมไทยสามารถจัดการกับข้อขัดข้องต่างๆ ได้ดี เราก็จะสามารถเติบโตไปในอีกระดับหนึ่งได้ต่อไป ไม่ว่าชะตากรรมของไทยจะเป็นอย่างไร ก็ล้วนเป็น “วิวัฒนาการ” ทั้งสิ้น แล้วเราจะไปวิตกจริตทุกข์ร้อนอะไรกัน ก็แค่ยอมรับมันเท่านั้นว่านี่เรากำลังมี “วิวัฒนาการ” อยู่ เรากำลังอยู่ในกระบวนการ อยู่ในขั้นตอนที่จำเป็นของ “วิวัฒนาการ” ส่วนว่าผลลัพธ์มันจะออกมาเช่นไร มันก็ย่อมจะเป็นเช่นนั้น ก็เท่านั้นเอง
อาณาจักรกรุงสุโขทัยล่มสลายไป แล้วก็มีอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นมา เมื่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยาล่มสลายไป ก็จึงบังเกิดอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาแทนที่ ทำไมเราถึงไม่เคยคิดว่านี่มันเป็นปัญหาล่ะ ทำไมเรายอมรับมันได้ว่าเป็นวิวัฒนาการ แล้วจากนี้ไป ไทยเราก็อาจกำลังวิวัฒนาการไปสู่สิ่งใหม่ก็เป็นไปได้
ในเชิงของ “ปัจเจกบุคคล” นั้น เราก็มักไม่ค่อยจะยอมรับว่า โชคร้าย อุปสรรค ขวากหนาม ความล้มเหลว ฯลฯ นั้น มันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ของกระบวนการ “การเจริญเติบโต” (Growing Up) ของคนเรา แต่เรากลับไปมองว่ามันเป็น “ปัญหา” เราเลยรังเกียจมัน เราไม่ต้อนรับมัน เราพยายามจะหลีกเลี่ยงมัน เราภาวนาว่าขออย่าให้เจอมัน ฯลฯ มันคล้ายๆ ว่าอยากว่ายน้ำเป็น แต่ไม่ยอมและไม่อยากเปียกน้ำ อยากถีบจักรยานเป็น แต่ไม่ยอมและไม่อยากเจ็บตัวบ้างเล็กๆ น้อยๆ อยากเป็นนักพูด แต่ไม่ยอมและไม่อยากขึ้นเวทีพูด ฯลฯ อะไรในทำนองนี้นั่นเอง
อันที่จริงคนเราก็ทำได้ดีทีเดียว ตอนที่เรามีลูก เพราะดูเหมือนเราจะยอมรับได้อย่างหน้าชื่นตาบานกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกกำลัง “เจริญเติบโต” ว่าเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่เคยมองว่ามันเป็นปัญหาเลย เราไม่เห็นว่าการสำลักของลูก จากการกินนมมื้อแรกหลังจากคลอดออกมาว่าเป็นปัญหา เราไม่เคยมองว่าระบบการย่อยของลูกที่ทำงานผิดปกติจากการกินอาหารมื้อแรกที่แข็งกว่านมนั้นว่าเป็นปัญหา เราไม่เคยคิดว่าการที่ลูกพยายามที่จะนอนคว่ำอย่างยากเย็น หรือพยายามที่จะยืน ที่จะเดิน ที่จะวิ่ง ว่ามันเป็นปัญหาเลย ทั้งๆ ที่กระบวนการเหล่านี้ ล้วนต้องเต็มไปด้วยข้อขัดข้องหลายอย่างหลายประการ แต่พ่อแม่ทุกคนล้วนมองว่าเป็นเรื่อง “ปกติ” ของ “การเจริญเติบโต” ของลูก
แต่ครั้นพอเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต ที่ก็ต้องผ่านพบทุกอย่างเพื่อ “การเจริญเติบโต” ของเราเอง เรากลับไม่ยอมรับปัจจัยสำคัญที่จำเป็นเพื่อการนี้ (เช่น ความล้มเหลว อุปสรรค ข้อขัดข้องต่างๆ) แต่เรากลับไปเห็นว่ามันเป็น “ปัญหา”
กล่าวโดยสรุปในประการนี้ก็คือ ก็แค่เรายอมรับในทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่มันเป็น อย่างที่มันดำรงอยู่ เท่านั้น เห็นมันเป็นเรื่องปกติ เห็นให้ได้ว่าไม่ว่าจะอย่างไรมันก็จะต้องเป็นไปเช่นนั้นแหละ เลิกตัดสิน เลิกตีความ เลิกคาดหวัง (คนละความหมายกับการมี “ความหวัง”) เลิกวิพากษ์วิจารณ์ เลิกสาปแช่ง เลิกบ่นว่า เลิกก่นด่า เลิกควบคุม เลิกต่อต้าน เลิกปฏิเสธมัน ที่เราควรต้องทำ ก็แค่ “ยอมรับ” มันเท่านั้น
“การยอมรับ” ไม่ใช่ “การยอมแพ้” หรือ “การยอมจำนน” นอกจากนี้ บางคนยังอาจสับสนกับคำว่า “ปล่อยวาง” ว่ามันเหมือนกับคำว่า “รู้จักปลงมันเสียบ้าง” หรือไม่? บางคนถึงกับนำไปปนกับคำว่า “วางเฉย” และที่ร้ายที่สุดคือ คิดว่าเป็นเรื่องเดียวกับ “การเพิกเฉย” ไปโน่นเลย (มีคำหนึ่งในพุทธศาสนา คือคำว่า “อุเบกขา” ที่มีการแปลกันว่า “การวางเฉย” ซึ่งหากตีความหมายกันไม่ดี ก็อาจหมายความว่าให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องดิ้นรนทำอะไร) ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่ามันคนละเรื่อง คนละความหมายกัน เพราะ “การยอมรับอย่างที่มันเป็น” ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของ “การปล่อยวาง” นั้น มีความหมายที่สร้างสรรค์มาก เพราะมันจะตามมาด้วยการกระทำที่สร้างสรรค์อื่นๆ อีกหลายประการ ดังที่ผมจะอภิปรายต่อไปใน “วิธีคิด” ข้ออื่นๆ ถัดจากนี้
2. มุ่งเน้นสิ่งที่มี : ในข้อนี้ อาจแยกพิจารณาเป็นสองประเด็น คือ
ประเด็นแรก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองมีดีอะไร ไม่เคยรู้ว่าตนเองมีจุดแข็งในเรื่องใด มีความถนัดแท้จริงในเรื่องใด มีความเป็นอัจฉริยะในเรื่องใด มีพรสวรรค์อะไร (ขอให้ลองอ่านข้อเขียนเรื่อง “ต้นแบบ จุดแข็ง ความถนัด อัจฉริยะ พรสวรรค์ : คนละเรื่องเดียวกันหรือไม่?” ในเว็บไซต์นี้ประกอบ น่าจะได้คำตอบที่กระจ่างขึ้น) ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงไม่เคยบรรลุความเป็นเลิศของตัวเองเลย และมักคิดอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองนั้น “ขาด” หรือ “ไม่มี” ศักยภาพเพียงพอที่จะประสบความสำเร็จ ผู้คนจำนวนมากจึงมักชอบอ้างว่า เป็นเพราะตัวเอง “ไม่มี” อะไร มากกว่าที่จะค้นให้พบว่าตนเองนั้น “มี” อะไร อยู่เป็นทุนเดิมแล้วบ้าง หลายคนโชคดีที่อาจได้รู้แล้วว่าตนเองมีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไร แต่ก็โชคร้าย พวกเขาก็มัวแต่สาละวนกับการพยายาม “กำจัดจุดอ่อน” ของตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้สำเร็จเลย คนส่วนใหญ่มีความพยายามน้อยมากกับการ “พัฒนาจุดแข็ง” ของตนเอง แล้วก็สูญเสียพลังงานไปทั้งชีวิตไปกับสิ่งที่มีผลน้อยมากกับความสำเร็จ ข้อสรุปในประเด็นนี้ก็คือ หาให้เจอว่าตนเองมีจุดแข็งอะไร แล้วมุ่งเน้นพัฒนาในจุดแข็งนั้น อันเป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน อัน “พรสวรรค์” ที่ธรรมชาติให้เรามาเป็นต้นทุนนั้น หากไม่ใช้ “พรแสวง” ในการพัฒนา ฝึกฝนให้เป็นเลิศแล้ว ก็อาจกลายเป็น “พรนรก” ไปได้อยู่เหมือนกัน
ประเด็นที่สอง ในสถานการณ์ชีวิตที่ไม่ปกตินั้นยิ่งแล้วใหญ่ ผู้คนส่วนใหญ่คิดอยู่ตลอดเวลาในสิ่งที่ตนเองไม่มี ไม่ค่อยจะคิดว่าตนเองมีอะไรอยู่แล้ว บางทีก็คิดในสิ่งที่สูญเสียไปแล้ว หรือคิดในสิ่งที่ยังไม่แน่ว่าจะมีมาหรือไม่ หากจะคิดให้สร้างสรรค์ เราก็สามารถคิดได้ว่าเรายังมีชีวิตอยู่ เรายังมีครอบครัวอันเป็นที่รัก เรายังมีงานทำอยู่ เรายังมีกิจการอยู่ เรายังมีลูกค้าประจำอยู่ เรายังมีสมอง เรายังมีความรู้ความสามารถ เรายังสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ ฯลฯ เรายังสามารถใช้สิ่งที่มีนี้มาพลิกสถานการณ์ได้ แม้อาจไม่มีบางสิ่งบางอย่างแล้ว เช่น ตกงาน กิจการกำลังจะเจ๊ง เงินกำลังจะหมด ฯลฯ เราก็ยังสามารถคิดสร้างสรรค์ได้อยู่ดี ขั้นแรกก็ยอมรับมันอย่างที่เป็น (ตามที่ได้กล่าวในข้อ 1.) จากนั้นก็ลองตั้งสติว่าเรามีอะไรที่พอจะทำได้บ้าง มันต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างที่พอทำได้ ถ้าเรามุ่งเน้นในสิ่งที่เรายังมีอยู่ แต่ที่คิดอะไรกันไม่ออก เพราะมัวไปฟูมฟายกับสิ่งที่ไม่มี สิ่งที่สูญเสียไปแล้ว และมัวไปวิตกจริต เป็นกังวลกับสิ่งที่ยังไม่มี สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เราเสียพลังงานไปกับสิ่งที่เราไม่มี มากกว่าจะทุ่มเทพลังงานไปในสิ่งที่เรามี
การค้นพบใหม่ๆ ของนักวิชาการด้านจิตวิทยา ด้านประสาทวิทยาสมัยใหม่ ในรอบสิบปีถึงยี่สิบปีที่ผ่านมา ล้วนมีข้อสรุปตรงกันว่า มนุษย์ถูกสร้างมาให้มีพลังงานอย่างเหลือเฟือที่จะสามารถฝ่าด่านอรหันต์ขนาดใดก็ได้ สามารถทนทานกับสถานการณ์หนักๆ แบบใด ขนาดไหนก็ได้ทั้งนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพมนุษย์เกือบทุกคน ล้วนสรุปตรงกันว่าคนส่วนใหญ่ใช้พลังงานของตนกันไม่เกิน 10% เท่านั้น โดยเฉลี่ย เราปล่อยให้พลังงาน หรือยักษ์ใหญ่ในตัวเราหลับใหลไม่ได้สติ อยู่อีกถึง 90% ! ท่านว่าแปลกไหมล่ะ ผู้คนชอบไปมุ่งเน้นกันใน 10% มากกว่าจะมุ่งเน้นในอีก 90% แล้วก็มาสรุปกับตัวเองว่า พลังงานมีไม่พอ ศักยภาพมีไม่พอ ความสามารถมีไม่พอ ฯลฯ
ในเชิงสังคมนั้น ผมจะขอนำไปสรุปรวมกับข้อ 3 ที่กำลังจะกล่าวถึง
3. บ่งชี้สิ่งที่ทำได้ : ในข้อนี้ ก็อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันได้กับข้อ 2 ที่เพิ่งกล่าวมา ผู้คนส่วนใหญ่ นอกจากจะมุ่งเน้นในสิ่งที่ไม่มีแล้ว วันๆ ก็ยังชอบแต่จะคิดว่ามีอะไรที่ “ทำไม่ได้” บ้าง แล้วก็คิดได้เยอะมากด้วย ไม่ค่อยจะใช้สมองมาคิดว่า แล้วมีอะไรที่ “ทำได้” บ้าง บางคนนั้นฉลาดหลักแหลมจนอาจจัดได้ว่าเป็นอัจฉริยะได้เลยทีเดียว แต่วันๆ กลับใช้ความฉลาดไปขบคิดว่าอะไรทำไม่ได้บ้าง และด้วยความอัจฉริยะของเขา เขาจึงสามารถคิดว่าอะไรทำไม่ได้ ได้เป็นร้อยๆข้อเลยทีเดียว แต่แค่ขอให้คิดให้ได้แม้เพียงสักข้อเดียวเท่านั้นว่าอะไรที่ทำได้ ก็กลับไม่ยอมคิดไปเสียนี่ ! นี่นับเป็นเรื่องที่จัดได้ว่าเป็นความวิปลาสประการหนึ่งของคนเรา
อันที่จริงมันก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่แค่สับสวิตช์ไปอีกด้านหนึ่งเท่านั้น คือแทนที่จะมัวไปหมกมุ่นว่าทำอะไรไม่ได้บ้าง ก็ให้หันไประบุหรือบ่งชี้ว่า มีอะไรที่ทำได้บ้าง ก็เท่านั้นเอง แต่มันก็อย่างว่า ในสถานการณ์ชีวิตที่ไม่ปกตินั้น คนเราก็มักขาดสติรู้ตัว ไอ้ที่ว่าฉลาดๆ เป็นกรดนั้น ก็ให้มามีอัน “โง่ฉุกเฉิน” ไปเสียทุกที!
แม่ชีเทเรซ่า เคยพูดไว้ว่า “เมื่อต้องเผชิญกับความมืด จงพยายามลุกขึ้นมาหาทางจุดเทียนเข้าไว้ อย่ามัวเอาแต่นั่งๆ นอนๆ สาปแช่งความมืด!” มีสิ่งที่สามารถจะทำได้อยู่มากมาย เพื่อให้เกิดแสงสว่าง แม้อาจไม่สามารถจุดไฟอะไรได้เลย แต่เราก็จะผ่านความมืดนั้นไปได้ อาจพบแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ อาจต้องอดทนรออีกนิดหน่อย เพราะอีกไม่นานก็จะเช้าแล้ว แต่สำหรับคนที่เอาแต่นั่งสาปแช่งความมืดนั้น เขาไม่ได้ทำอะไรเลย ถ้าอยู่กันหลายคนก็อาจโทษกันไปมา แล้วก็ทะเลาะกัน ต่อสู้กัน และอาจไม่มีชีวิตอยู่จนถึงเช้า หรืออาจไม่ได้พบแสงสว่างอะไรได้เลย ถ้าอยู่คนเดียว เขาก็อาจอัดอั้นตันใจตายไปเสียก่อนแล้วก็เป็นได้
แม่ชีเทเรซ่า เคยพูดไว้ว่า “เมื่อต้องเผชิญกับความมืด จงพยายามลุกขึ้นมาหาทางจุดเทียนเข้าไว้ อย่ามัวเอาแต่นั่งๆ นอนๆ สาปแช่งความมืด!” มีสิ่งที่สามารถจะทำได้อยู่มากมาย เพื่อให้เกิดแสงสว่าง แม้อาจไม่สามารถจุดไฟอะไรได้เลย แต่เราก็จะผ่านความมืดนั้นไปได้ อาจพบแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ อาจต้องอดทนรออีกนิดหน่อย เพราะอีกไม่นานก็จะเช้าแล้ว แต่สำหรับคนที่เอาแต่นั่งสาปแช่งความมืดนั้น เขาไม่ได้ทำอะไรเลย ถ้าอยู่กันหลายคนก็อาจโทษกันไปมา แล้วก็ทะเลาะกัน ต่อสู้กัน และอาจไม่มีชีวิตอยู่จนถึงเช้า หรืออาจไม่ได้พบแสงสว่างอะไรได้เลย ถ้าอยู่คนเดียว เขาก็อาจอัดอั้นตันใจตายไปเสียก่อนแล้วก็เป็นได้
ถามตัวเองดูสักหน่อยสิครับว่า ในภาวะที่สถานการณ์ชีวิตมันไม่ปกตินั้น มันไม่มีอะไรที่จะสามารถทำได้เลยจริงๆ หรือ ถ้าคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรได้บ้าง ผมขอแนะนำว่า “งั้นก็จงพยายามหายใจเข้าไว้!”
หากมองในเชิงสังคม สังคมไทยนั้นไม่มีทางที่จะไปได้ถึงไหนๆ หากยังพยายามไปมุ่งเน้นในสิ่งที่ไม่มี ไม่เคยมี ไม่มีวันมีได้ และไอ้บางอย่างที่เคยมี ก็ไม่มีมันอีกต่อไปแล้ว! กันอยู่อย่างนี้ มิหนำซ้ำ สังคมไทยก็ไม่ได้พยายามทำในสิ่งที่ทำได้ และจะทำได้ดีที่สุด กลับไปละเมอเพ้อพก ดิ้นรนขวนขวาย ตะเกียกตะกาย จะเป็นจะตาย ฟูมฟาย จะทำในสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ สังคมไทยต้องยอมรับในสิ่งที่เป็น มุ่งเน้นในสิ่งที่มี บ่งชี้สิ่งที่ทำได้ เท่านั้นครับ จึงจะพอฝันได้ว่าเราเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
4. ใส่ใจสิ่งที่ต้องการ : เราเคยถามตัวเองไหมครับว่าวันๆ หนึ่งนี่ เรานึกถึงอะไร อยู่ตลอดเวลา ท่านอาจไม่รู้ตัว และไม่ยอมรับ รวมทั้งไม่เชื่อว่า วันๆ หนึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ ซึ่งอาจรวมถึงตัวเราด้วย ชอบคิดถึงสิ่งที่ไม่ต้องการอยู่ตลอดเวลา เราชอบคิดถึงสิ่งที่เราไม่อยากได้อยู่ตลอดเวลา ชอบคิดถึงสิ่งที่เรากลัวกันอยู่ตลอดเวลา แล้วผลลัพธ์น่ะหรือครับ เราก็มักได้รับในสิ่งที่เราไม่ต้องการ ได้รับในสิ่งที่เราไม่อยากได้ ได้เจอในสิ่งที่เราไม่อยากเจอ นั่นแหละ เกือบจะทุกครั้งเลย อันที่จริง คำกล่าวของคนโบราณก็สอนเราไว้ในเรื่องนี้มานานแล้ว แต่เรานั้นก็เหมือนได้ยิน แต่ก็ไม่เคยฟังเลย ที่ว่า “เกลียดอย่างไหน ได้อย่างนั้น” และ “กลัวสิ่งไหน เจอสิ่งนั้น”
มันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ กฎเกณฑ์แห่งจักรวาล อย่างแท้จริงที่ว่า เรา “เป็น” ในสิ่งที่เราคิดอยู่ในใจตลอดเวลา เรา “มี” (ได้รับ ได้เจอ) ในสิ่งที่เราคิดถึงอยู่ตลอดเวลา และเรามักจะ “ทำ” (พฤติกรรม/คำพูด) ในสิ่งที่เราคิดอยู่ตลอดเวลา เช่นกัน “จักรวาล” (หรือชื่ออื่นใด แล้วแต่ความสะดวกใจที่ใครจะใช้เรียก เช่น พระเจ้า, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก, ตัวตนสูงสุดในจักรวาล, พลังงานไร้รูป ฯลฯ) นั้น ไม่สนใจว่าเราต้องการอะไร หรือไม่ต้องการอะไร ไม่สนใจว่าเราจะอยากได้อะไร หรือไม่อยากได้อะไร ไม่สนใจว่าเราจะชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไร จะกลัวอะไร หรือไม่กลัวอะไร จักรวาลสนใจเพียงว่าเรา “คิดถึง” อะไร อยู่ตลอดเวลา อะไรที่เราคิดถึงอยู่ตลอดเวลา มันจะปรากฏเป็นจริง ตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ กฎเกณฑ์แห่งจักรวาล
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แนวใหม่ เป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า “ควอนตัม ฟิสิคส์” (Quantum Physics) อันเป็นเรื่องที่สั่นสะเทือนวงการวิทยาศาสตร์อย่างชนิดพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินเลยทีเดียว ในวงการวิทยาศาสตร์ ยังถึงกับยกย่องให้เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน หรืออาจจะอยู่เหนือกว่าการค้นพบ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เลยทีเดียว
ในรอบหลายปีมานี้ ผู้คนในโลกตะวันตก ต่างตื่นเต้นกับ “กฎแห่งการดึงดูด” (Law of Attraction) กันอย่างชนิดเป็นอภิมหาโกลาหลอลหม่าน แล้วก็ไหลมาสู่โลกตะวันออก แล้วในที่สุด ก็ลามไปทั่วโลก (อ่านข้อเขียนเรื่อง “กฎแห่งการดึงดูด” ในเว็บไซต์นี้ประกอบ) ซึ่งอันที่จริงแล้ว “กฎแห่งการดึงดูด” นี้ ก็คือกฎที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการ และกฎเกณฑ์ของทฤษฎี “ควอนตัม ฟิสิคส์” นั่นเอง
ผมขอถือวิสาสะที่จะไม่พรรณนาถึงเรื่องควอนตัม ฟิสิคส์นี้ในรายละเอียด แต่จะขอสรุปสั้นๆ ว่า “อะไรก็ตามที่เราคิดถึงมันอยู่ตลอดเวลา มันจะสามารถปรากฏเป็นจริง” และ “สิ่งที่เหมือนกันจะดึงดูดกัน” เพราะฉะนั้น ถ้าวันๆ เราเอาแต่คิดถึงแต่เรื่องร้ายๆ เราก็จะพบเจอแต่เรื่องร้ายๆ นั้นทั้งวันเลย ดังนั้น บรรดาคุรุ หรือกูรู หรือผู้เชี่ยวชาญ จึงมักเน้นย้ำกับเราเสมอมาว่า จงคิดถึงแต่สิ่งที่ต้องการ อย่าไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ จงคิดถึงแต่สิ่งที่อยากได้ อย่าไปคิดในสิ่งที่ไม่อยากได้
แต่ไม่น่าเชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ มักจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม แม้หลายคนจะรู้ว่าตนเองต้องการอะไร แต่ด้วยความกลัวว่าจะไม่ได้ตามที่ต้องการ จึงคิดถึงแต่อุปสรรค ปัญหา หรืออะไรก็ตามทีที่อาจจะขัดขวางให้ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เขาไม่ต้องการให้มีอะไรมาขัดขวาง แต่ก็คิดถึงแต่สิ่งที่จะมาขัดขวางนั้นอยู่ตลอดเวลา ผลสุดท้าย เขาก็พบเจอแต่สิ่งที่มาขัดขวาง และเขาก็ไม่ได้พบเจอในสิ่งที่เขาต้องการ นี่คือ “กับดัก” ที่ทำให้ฝันนั้นไม่เคยกลายเป็นจริงได้เลย
นักขายที่ออกไปพบลูกค้านั้น ทุกคนล้วนต้องการให้ขายได้ แต่ในความคิด จิตใจ และอารมณ์ ของเขานั้น เต็มไปด้วยความหวาดระแวงว่าลูกค้าจะไม่ซื้อ หรือมิฉะนั้นก็เต็มไปด้วยความกังวล ความพะวง ความสงสัย เขาหมกมุ่นคิดแต่ในเรื่องว่าจะตอบโต้ข้อโต้แย้ง จะทำลายกำแพงปฏิเสธของลูกค้าอย่างไร มากกว่าที่จะเพ่งสมาธิไปที่การทำให้ลูกค้าซื้อ (คือเขามัวแต่หาเหตุผลมาแก้ปัญหาการ “ไม่ซื้อ” มากกว่าการหาเหตุผลมาทำให้ลูกค้า “ซื้อ” นั่นเอง)
ภรรยาที่เอาแต่คอยหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าสามีจะไปมีเมียน้อยนั้น ก็มักจะไม่ผิดหวังครับ สามีเขาก็จะมีเมียน้อยให้ได้สมใจทุกครั้งไป ยิ่งถ้าหวาดระแวงมาก เขาก็จะมีเมียน้อยหลายๆ คน มากตามไปด้วย พ่อแม่ที่เอาแต่คิดว่าลูกของตนไม่ฉลาดเท่าลูกคนอื่นนั้น ก็ไม่ผิดหวังเช่นกัน ลูกๆ ของพวกเขาก็จะเดินแผ่รังสีโง่ไปทั่วทั้งปริมณฑล สมใจพ่อแม่เลย หัวหน้าที่คอยแต่จะจ้องจับผิดลูกน้อง ก็มักจะสมหวังกันทุกครั้งไป เพราะลูกน้องก็จะทำเรื่องผิดให้ได้เห็นทั้งวัน และทุกวันเลย!
นี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่จะสามารถบอกได้ว่าทำไมคนรวยจึงมักจะรวยยิ่งขึ้น และไฉนคนจนจึงต้องมาจนดักดานอยู่อย่างนั้นทั้งปีทั้งชาติ เป็นเพราะคนรวยไม่ได้คิดอะไรอื่นนอกจากคิดถึงแต่ความร่ำรวย เขาจึงดึงดูดแต่ความร่ำรวยเข้ามา ส่วนคนจน ก็ไม่กล้าคิดอย่างอื่นไปได้ นอกจากคิดถึงแต่ความจน ความไม่มี ความขาดแคลน เขาจึงไม่อาจได้รับอย่างอื่น นอกจากความจน จริงอยู่ คนจนล้วนต้องการมีเงิน แต่เขาไม่ได้เชื่อว่าเขาก็รวยได้ เขาอยากรวย แต่เขาก็คิดถึงข้อจำกัดโน่นนี่อยู่ตลอดเวลา ส่วนคนจนที่สามารถรวยได้นั้น เป็นเพราะเขาคิดแบบคนรวย คือคิดถึงความร่ำรวยอยู่ตลอดเวลา เขาไม่ใช่แค่คิด แต่เขาเชื่อ เขาศรัทธา เขารู้สึกได้ และจริงๆ แล้วนั้น เขาน่ะรวยไปแล้วในแง่ของมโนภาพที่อยู่ในใจเขา เขารักษาภาพนั้นไว้ตลอดเวลา เขาคิดถึงแต่สิ่งที่เขาต้องการอยู่ตลอดเวลา แล้วสิ่งที่เขาคิดอยู่ตลอดเวลาก็ปรากฏเป็นจริง
นี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่จะสามารถบอกได้ว่าทำไมคนรวยจึงมักจะรวยยิ่งขึ้น และไฉนคนจนจึงต้องมาจนดักดานอยู่อย่างนั้นทั้งปีทั้งชาติ เป็นเพราะคนรวยไม่ได้คิดอะไรอื่นนอกจากคิดถึงแต่ความร่ำรวย เขาจึงดึงดูดแต่ความร่ำรวยเข้ามา ส่วนคนจน ก็ไม่กล้าคิดอย่างอื่นไปได้ นอกจากคิดถึงแต่ความจน ความไม่มี ความขาดแคลน เขาจึงไม่อาจได้รับอย่างอื่น นอกจากความจน จริงอยู่ คนจนล้วนต้องการมีเงิน แต่เขาไม่ได้เชื่อว่าเขาก็รวยได้ เขาอยากรวย แต่เขาก็คิดถึงข้อจำกัดโน่นนี่อยู่ตลอดเวลา ส่วนคนจนที่สามารถรวยได้นั้น เป็นเพราะเขาคิดแบบคนรวย คือคิดถึงความร่ำรวยอยู่ตลอดเวลา เขาไม่ใช่แค่คิด แต่เขาเชื่อ เขาศรัทธา เขารู้สึกได้ และจริงๆ แล้วนั้น เขาน่ะรวยไปแล้วในแง่ของมโนภาพที่อยู่ในใจเขา เขารักษาภาพนั้นไว้ตลอดเวลา เขาคิดถึงแต่สิ่งที่เขาต้องการอยู่ตลอดเวลา แล้วสิ่งที่เขาคิดอยู่ตลอดเวลาก็ปรากฏเป็นจริง
หากกล่าวในเชิงสังคมแล้ว เราไม่มีทางแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไปได้ ถ้าเรามัวแต่พูดถึงแต่การแก้ปัญหาความยากจน เราคิด พูด ทำ เชื่อ ค้นคว้า วิจัย สัมมนา ตั้งคณะทำงาน ฯลฯ ซึ่งเอาแต่วนเวียนพูดกันถึงแต่ “ความยากจน” แม้จะพูดถึงการแก้ไข การป้องกัน การแก้ปัญหา แต่มันก็จะกระเดียดไปในทาง “ความกลัว” มันจึงมีเนื้อหาวนเวียน ซ้ำซากอยู่แต่กับเรื่อง”ความจน” “ความจน” และ “ความจน” อยู่อย่างนี้ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากจนหนักกว่าเก่าเข้าไปอีก
ทำไมไม่เคยมีผู้ปกครองประเทศคนใด คิด พูด ทำ ไปในอีกด้านหนึ่ง แทนที่จะมาแก้ปัญหาความยากจนกันอยู่นั่นแล้ว ก็ให้หันไปหามาตรการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้คนในชาติแทน ทำอย่างไรให้เกษตรกรมั่งคั่งร่ำรวย ทำอย่างไรให้ผู้ใช้แรงงานมั่งคั่งร่ำรวย ทำอย่างไรให้ชนชั้นกลางมั่งคั่งร่ำรวย ทำอย่างไรให้วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม มั่งคั่งร่ำรวย ทำอย่างไรให้ลูกจ้างพนักงาน ข้าราชการชั้นผู้น้อย มั่งคั่งร่ำรวย ฯลฯ
สรุปคือ คิดไปในทางให้ผู้คนมั่งคั่งร่ำรวย ไม่ใช่เอาแต่คิดว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้ผู้คนเขาอย่างไร
แม่ชีเทเรซ่าเคยกล่าวไว้ว่า “อย่ามาชวนฉันไปเดินขบวนต่อต้านสงครามเลย เพราะฉันจะไม่มีวันเข้าร่วมเป็นอันขาด แต่ถ้ามีการเดินขบวนเพื่อส่งเสริมสันติภาพเมื่อไหร่ มาบอกฉันด้วย ฉันจะไปเข้าร่วมเป็นคนแรกเลย!!”
5. ยึดมั่นกับเป้าหมาย : ในข้อนี้ หากจะกล่าวให้สมบูรณ์ครบถ้วน ก็ต้องกล่าว่า “จงยึดมั่นกับเป้าหมาย แต่อย่าไปยึดติด”
คนเราล้วนต้องมีเป้าหมายในชีวิต เพราะหากไม่มีเป้าหมาย ชีวิตเราก็ไปไม่ถึงไหน เพราะเราไม่รู้ว่าจะไปไหน มีคำกล่าวว่า “คนที่ไม่รู้แน่ชัดว่าอยากไปอยู่ ณ ที่ใด มักได้ไปอยู่ในที่ที่ตนไม่อยากไปอยู่...เสมอ!” และอีกคำกล่าวหนึ่ง ที่มาจากพวกนักเดินเรือ ที่ว่า “เมื่อไม่รู้ว่าจะเดินเรือไปที่ไหน ไม่ว่าลมอะไร ก็เป็นลมที่ถูกต้องทั้งนั้น”
เป้าหมายที่ดี ก็ควรเป็นเป้าหมายที่สนองตอบต่อชีวิตคนเราใน 3 ด้านหลักๆ คือ ด้านร่างกาย (เป็นเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่งร่ำรวยทางวัตถุ) ด้านความคิด จิตใจ (เป็นเรื่องของการมีความรู้ มีความคิด มีสติปัญญา มีวิสัยทัศน์ มีความจรรโลงใจ) และด้านจิตวิญญาณ (เป็นเรื่องของความดีงาม คุณค่าที่จะทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น การเข้าถึงตัวตนสูงสุดของตนเอง) (ผมเขียนเรื่องนี้ไว้ละเอียดกว่านี้ ในข้อเขียนเรื่อง “หลักการและกฎเกณฑ์สำคัญ ที่ได้จากหนังสือ The Science of Getting Rich” ซึ่งหาอ่านได้จากเว็บไซต์นี้เช่นกัน)
ประเด็นที่จะเป็นปัญหา ก็คือ ผู้คนจำนวนมาก มักไม่มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ครั้นบางคนที่พอจะมีเป้าหมายบ้าง ก็มักเป็นเป้าหมายที่สนองตอบต่อชีวิตเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ มีเป้าหมายทางด้านร่างกาย (ความมั่งคั่งร่ำรวยทางวัตถุ) กันเพียงอย่างเดียวเลย นอกจากนี้ ในหมู่คนที่พอจะมีเป้าหมาย ก็มักไม่ค่อยยึดมั่นกับเป้าหมายนั้นไว้ให้หนักแน่น โลเล สงสัย ไม่มั่นใจ ไปจนถึงเปลี่ยนเป้าหมายได้ตลอดเวลา วันละสามเวลาหลังอาหาร! (คนละเรื่องกับความยืดหยุ่น หรือการปรับแต่งเป้าหมาย) ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์อะไรที่ไม่ปกติในชีวิต ก็เอาแต่ตั้งคำถาม ตั้งข้อสงสัย เกิดความไม่แน่ใจ วันๆ คิดถึงแต่อุปสรรค มากกว่าจะคิดถึงแต่เป้าหมาย และสุดท้าย ในคนที่ยึดมั่นเป้าหมายไว้อย่างเหนียวแน่น ก็กลับติดกับดักอีก คือ ไปยึดติดกับเป้าหมายนั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย ในประเด็นหลังสุดนี้ เป็นประเด็นที่ผมจะอภิปรายในข้อนี้
ผมไม่ได้ต้องการที่จะเล่นคำ หรือเล่นภาษา เมื่อพูดถึงการ “ยึดมั่น” กับ “ยึดติด” การ “ยึดมั่น”นั้นดีอยู่แล้ว มันแสดงถึงความแน่วแน่ในเจตนารมณ์ ความเชื่อ ความศรัทธาในสิ่งที่อยากมี อยากทำ อยากเป็น มันเป็นการทำตามวิธีคิดที่ถูกต้อง ที่ว่า “จงคิดถึงสิ่งที่ต้องการตลอดเวลา” ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่การที่ไป “ยึดติด” นั้น มันหมายถึงว่า เราไปเอาเป็นเอาตายกับผลลัพธ์ที่เราต้องการให้เกิดขึ้น มากจนเกินไป เราเป็นกังวลกับเป้าหมายมากเสียจนสูญเสียความสุขในการดำเนินชีวิต เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น เราหลงลืมไปว่า “ความสุขจากการเดินทางนั้น สุขกว่าการเดินทางไปถึงที่นั่นแล้ว” (ถ้าจะอ่านข้อเขียนเรื่อง “ความสุขในการเดินทาง” ในเว็บไซต์นี้ประกอบด้วย ก็อาจจะมีความกระจ่างขึ้น)
ดีพัค โชปรา กล่าวไว้ในหนังสือ “The Seven Spiritual Laws of Success” หรือในภาคภาษาไทย ชื่อ “7 กฎ ด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ” แปลโดย นันท์ วิทยดำรง..ว่า “ความสำเร็จ หมายถึง ความสุขในวิถีแห่งการเดินทาง”
การยึดมั่นกับเป้าหมาย โดยไม่ต้องไปยึดติด คือการรู้อยู่ตลอดเวลาว่าต้องการอะไร แต่ไม่เป็นกังวลกับการที่จะได้มันมาหรือไม่ มันคล้ายๆ กับการที่เราอยากได้บางสิ่งบางอย่างอย่างยิ่ง คิดถึงมันอยู่ทุกลมหายใจ แต่ทว่า ก็ไม่เป็นอะไรเลย ถ้ายังไม่ได้มันมา หรือแม้แต่จะไม่ได้มันมาเลยก็ตาม มันคล้ายๆ กับการอยากไปอยู่บ้านหลังใหญ่นั้นใจจะขาด แต่ก็ไม่ได้คับข้องใจอะไรกับการอยู่บ้านหลังเล็กที่กำลังอยู่นี่ มันคล้ายๆ กับการที่เราอยากขับรถยนต์เมอร์เซเดส เบ็นซ์ อันหรูหราราคาแพงนั้นอย่างเหลือเกิน แต่ก็ไม่ได้กำลังมีปัญหาอะไรกับการขับโตโยตาคันเก่งที่ใช้อยู่
ถ้าเราไม่มีความสุขในวิถีแห่งการเดินทางแล้วละก็ เราอาจไม่มีความสุขเลยทั้งชีวิต การดำเนินชีวิต หรือการทำงานในแต่ละวัน มันจะกลายเป็นเรื่องที่เหมือนตกนรกทั้งเป็นเลยทีเดียว เราต้องใช้ความอดทน อดกลั้น อดอยากปากแห้ง อยู่ตลอดเวลา เพื่อรอเวลาที่จะมี “ความสุขครั้งใหญ่” เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว...ทำไมเราจึงคิดว่าเราไม่สามารถจะมีความสุขได้ทุกวันล่ะ?!? จริงๆ แล้ว เราสามารถมีความสุขได้ทุกวัน ในขณะที่เดินทางไปสู่เป้าหมาย แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว เราอาจไม่ได้ไปถึงเป้าหมายนั้นก็ตาม
แนวคิด หรือเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะทำให้เราสามารถยึดมั่นกับเป้าหมาย โดยไม่ต้องไปยึดติดกับผลลัพธ์ และสามารถทำให้เรามีความสุขในวิถีแห่งการเดินทาง ได้ทุกวัน และทุกเวลา ก็คือ “การอยู่กับปัจจุบัน” การอยู่กับปัจจุบัน คือ การไม่โหยไห้อาลัยหากับเรื่องในอดีต และไม่เป็นกังวล ไม่เดือดเนื้อร้อนใจกับเรื่องในอนาคต ไม่ต้องกังวลเลยด้วยซ้ำว่าอีกห้านาทีจะเกิดอะไรขึ้น หรือแม้แต่ไม่ต้องไปกังวลอะไรทั้งสิ้นว่าอีกหนึ่งนาทีข้างหน้าจะมีปัญหาอะไร ถ้าอยากจะกังวล ก็กังวลแค่ว่า ณ วินาทีนี้ เรากำลังมีปัญหาอะไรหรือ? (หวังว่าคงไม่.มีใครตอบกลับมาว่า “ก็มีปัญหากังวลในเรื่องอีกห้านาทีข้างหน้าน่ะแหละ!??!”)
มีหนังสือดีๆ ที่พูดเรื่องการอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” อยู่มากมายหลายเล่ม โดยเฉพาะในทางพุทธศาสนา มีผู้รู้หลายท่านทั้งพระและฆราวาส ได้เขียนเอาไว้ แต่ถ้าต้องการการแนะนำ ผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือของท่านติช นัท ฮันท์ เรื่อง “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ” (The Miracle of Being Awake) ท่านเขียนเรื่องนี้ไว้อย่างสั้นๆ ทว่าลึกซึ้งและเข้าใจง่าย ถ้าต้องการอ่านที่ละเอียดขึ้น ขอให้อ่านงานเขียนของ Echhart Tolle ในหนังสือชื่อ “พลังแห่งจิตปัจจุบัน” (The Power of Now) ทั้งสองเล่ม มีการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว และน่าจะยังมีจำหน่ายในร้านหนังสือ
6. สอดส่ายหาโอกาส : อันที่จริงข้อนี้นี่ก็แทบไม่ต้องขยายความ หรืออธิบายอะไรให้ยืดยาวเลย เราได้ยินได้ฟังกันมามาก และกันมานานแล้วว่า “เราสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” “เราสามารถค้นพบโอกาสได้ในทุกๆ ปัญหา” “ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” หรือแม้แต่ภาษิตโบราณของไทยเราก็ยังสอนไว้ว่า “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
6. สอดส่ายหาโอกาส : อันที่จริงข้อนี้นี่ก็แทบไม่ต้องขยายความ หรืออธิบายอะไรให้ยืดยาวเลย เราได้ยินได้ฟังกันมามาก และกันมานานแล้วว่า “เราสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” “เราสามารถค้นพบโอกาสได้ในทุกๆ ปัญหา” “ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” หรือแม้แต่ภาษิตโบราณของไทยเราก็ยังสอนไว้ว่า “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
มีคำกล่าวว่า คนที่มีวิสัยทัศน์ ก็คือคนที่สามารถมองเห็นในสิ่งสร้างสรรค์ ซึ่งคนอื่นมองไม่เห็น คนที่ประสบความสำเร็จในทุกแขนง ล้วนมองเห็นโอกาสที่จะทำอะไรก็ตาม ที่สามารถแก้ปัญหาให้คนอื่นได้ สินค้าทุกอย่างในโลกนี้ ที่ขายได้ขายดีอย่างชนิดเทน้ำเทท่า ก็เพราะมันถูกผลิตออกมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนทั้งสิ้น
ในแง่ปัจเจกบุคคล คนที่จะมีคุณค่า เป็นที่ต้องการของใครต่อใคร ก็คือคนที่สามารถแก้ปัญหาได้ ทั้งปัญหาของตนเอง และปัญหาของผู้อื่น ส่วนคนที่ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ มิหนำซ้ำ ตัวของเขานั่นเองที่เป็นปัญหา นั้น ขอโทษเถอะ นอกจากจะไม่เป็นที่ต้องการของใครแล้ว ขนาดเอาพวกเขาไปทำปุ๋ย บรรดาต้นไม้ต่างๆ ยังร้องกันระงมเลยว่า “ไม่เอา! อย่าเอามันมารดกู กูยังไม่อยากเหี่ยวเฉาก่อนเวลาอันควร!!”
อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ประสบความสำเร็จ เห็นโอกาสในทุกปัญหา ผู้ล้มเหลว เห็นแต่ปัญหาในทุกโอกาส!”
ดร.นโปเลียน ฮิลล์ ผู้เขียนหนังสือ “ศาสตร์แห่งความสำเร็จ” เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า “ในทุกความล้มเหลว มีเมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จอยู่ด้วยเสมอ”
คนที่ประสบความสำเร็จ เห็น “ความรับผิดชอบ” เป็นความก้าวหน้า เป็นโอกาสที่เขาจะเติบโต คนที่ชีวิตไม่ไปถึงไหน เห็นความรับผิดชอบที่ได้รับมาว่าเหมือนการถูกลงโทษ ถูกกลั่นแกล้ง เป็นความซวย คนที่ประสบความสำเร็จเห็น “ความยาก” เป็น “ความท้าทาย” คนล้มเหลว เห็นทุกความท้าทายเป็นความยาก ความกดดัน ความไม่สะดวก ความไม่สบายในชีวิต ฯลฯ
และสุดท้าย ในเรื่องของ “โอกาส” นี้ เราสามารถจะทำอะไรกับมันก็ได้ทั้งนั้น จะ “คอย” จะ “หา” จะ “คว้า” จะ “สร้าง” หรือจะ “ขว้าง” มันทิ้งไป ก็ได้ทั้งสิ้น (ผมเขียนเรื่องนี้ไว้สองตอนสั้นๆ ในเว็บไซต์นี้)
7. หมายมาดการสร้างสรรค์ : ถ้าจะให้สมบูรณ์ครบถ้วน ก็ต้องพูดว่า “จงเลิก ‘แข่งขัน’ แต่จงมุ่งเน้น ‘การสร้างสรรค์’ เท่านั้น”
“การแข่งขัน” (Competition) ทำให้เราไม่มีความสุข ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถเป็นเลิศ ไม่อาจไปสู่จุดสูงสุดเท่าที่เราจะเป็นได้ เพราะการแข่งขัน ทำให้เราต้องมีการเปรียบเทียบ มีการต่อสู้ดิ้นรน มีการแย่งชิง ต้องมีคนแพ้ ต้องมีคนชนะ ต้องมีคนได้ ต้องมีคนสูญเสีย ความร่ำรวยของคนหนึ่ง ทำให้อีกคนหนึ่งต้องยากจนลง ฯลฯ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
เพราะเราได้เอาตัวของเรา ผลงานของเรา สินค้าของเรา องค์กรของเรา และรวมไปถึงชีวิตทั้งชีวิตของเรา ไปเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เราไม่อาจให้คุณค่า หรือตีราคาในทุกสิ่งทุกอย่างของเราได้ ถ้าไม่มีอีกคนหนึ่งให้เราเปรียบเทียบ ให้อ้างอิง หรือให้จับตามอง
เราไม่มีทางที่จะมีความสุข ตราบใดที่เรายังไม่ชนะคู่แข่ง เราไม่มีทางเป็นอิสระ ไม่มีทางเป็นตัวของตัวเอง ตราบใดที่เรายังติดพันธนาการอยู่กับการที่ต้องอยู่เหนือกว่าคนอื่น เมื่อคนอื่นขยับ เราก็จะรีบเขยื้อน เมื่อคนอื่นอยู่เฉยๆ เราก็จะนั่งนิ่งๆ พอคนอื่นเขาอยู่นิ่งๆ เราก็จะรีบวิ่งแซงเพื่อไปอยู่หน้าเขา เรียกว่าเราเอาพฤติกรรมของคนอื่น มากำหนดพฤติกรรมของเราเองอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์ กลเม็ด เคล็ดลับ เคล็ดวิชา เดชคัมภีร์เทวดาใด ที่จะสามารถทำให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) แล้วละก็ ต่อให้มีราคาแพงแค่ไหน เราก็จะต้องรีบซื้อหาเอามาเป็นเจ้าของ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารคู่แข่งให้ราบเป็นหน้ากลอง Michale E.Porter เจ้าพ่อวิชาด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีได้ ก็เพราะเขาคิดเครื่องมือชนิดนี้ มาขายให้ผู้คน
การแข่งขันนั้น มาจากฐานอคติว่าทุกอย่างในโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด ยิ่งสิ่งใดที่ผู้คนให้ค่านิยมว่ามีมูลค่าสูง เราก็ยิ่งเชื่อว่ามันมีน้อยยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าเราไม่รีบดิ้นรนเพื่อไปแย่งชิงเอามันมา คนอื่นก็จะคว้าเอามันไป!!
นักวิชาการฝรั่งเคยทำวิจัยพบว่า คนคนหนึ่ง หากได้รับเงินเดือน 50,000 เหรียญ ซึ่งมากกว่าใครทั้งหมดในองค์กร เขาจะมีความสุขมาก แต่ครั้นพอเปลี่ยนสถานการณ์ใหม่เล็กน้อย คือเขาได้รับเงินเดือนถึง 100,000 เหรียญ และภาระงาน หรือความรับผิดชอบก็เหมือนเดิม แต่มีคนอื่นได้รับเงินเดือนมากกว่าเขาเล็กน้อยอยู่อีกสองสามคน ปรากฏว่าเขากลับไม่มีความสุขเท่าที่ควร เขากลับรู้สึกว่าค่อนข้างเครียดไปด้วยซ้ำ เขารู้สึกว่าองค์กรไม่มีความยุติธรรม เขารู้สึกว่าเขาทำงานมากกว่าคนอื่น เขากำลังถูกเอาเปรียบ คนอื่นกำลังกินแรงเขา เขาไม่อยากทุ่มเทให้องค์กรไปมากกว่านี้ ฯลฯ นักวิชาการเขาก็เลยสรุปว่า การได้ค่าตอบแทนเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้น ยังเป็นปัญหาน้อยกว่าการได้ค่าตอบแทนมากกว่า หรือน้อยกว่าคนอื่น! นี่คือตัวอย่างของคนที่ชอบแข่งขัน ชอบเอาชีวิตไปแขวนเปรียบเทียบไว้กับคนอื่น (มีข้อเขียนของพระไพศาล วิสาโล เรื่อง“แข่งกับงาน” ซึ่งพูดถึงประเด็นนี้ไว้ในเว็บไซต์นี้ด้วย)
คน หรือองค์กรที่เน้นเรื่องการแข่งขันนั้น ไม่มีวันที่จะก้าวไปสู่ “ความเป็นเลิศ” หรือการเป็นสิ่งที่ “ดีที่สุด” ที่เขาจะสามารถดีได้ ไปได้ อย่างมากที่สุด พวกเขาก็อาจได้รับตำแหน่ง “เลวน้อยกว่า” หรือ “แย่น้อยกว่า” ไปเท่านั้นเอง
แม้แต่ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งในระดับชาติ และระดับโลก ก็ยังสามารถนำแนวคิด หลักการนี้ไปอธิบายได้เป็นอย่างดี ประเทศที่มุ่งเน้นการแข่งขัน (โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ) แม้อาจได้รับความสำเร็จ แต่ก็ไม่ “ยิ่งใหญ่” อะไรเลย ดูประเทศจีนเป็นตัวอย่างสิ จีนเน้นแต่หาวิธีการเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วผลข้างเคียงเป็นอย่างไร จีนอาจได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุดในโลก แต่จีนก็ได้ทำร้ายผู้คนในโลกอย่างแสนสาหัสปานกัน จีนเป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับว่าน่ารังเกียจประเทศหนึ่งในโลกเลยทีเดียว ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำลังเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ ก็กำลังได้รับเคราะห์กรรมจากการที่เอาแต่มุ่งเน้นการแข่งขันมากไป
พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของไทยพรรคหนึ่ง มีพัฒนาการมาหลายสิบปีจนได้ชื่อว่าเป็น “สถาบันทางการเมือง” ไปแล้ว แต่น่าเสียดายที่พรรคการเมืองพรรคนี้ มุ่งเน้นแต่เพียง “การแข่งขันทางการเมือง” เป็นสำคัญ เขาจึงพอใจกับสถานะของการเป็นพรรคการเมืองที่ “เลวน้อยกว่า” มากกว่าที่จะสร้างสรรค์เพื่อให้พรรคของตนเป็นพรรคที่ “ดีที่สุด” เท่าที่จะดีได้ ไม่ว่าประเทศไทยจะเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางการเมืองมาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และน่าจะรวมถึงอนาคตด้วยไปอย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองพรรคนี้ก็ไม่เคยสามารถจะเป็นความหวังอะไรให้กับคนไทยได้เลย พรรคนี้จะดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร มักไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ใดๆ จากตัวของพรรคเองเลย แต่มักจะขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองคู่แข่งว่าเขาดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไรเป็นสำคัญ น่าเสียดายที่เขาพัฒนาตนเองมาจนเป็น “สถาบัน” ได้แล้ว แต่ที่เขาไม่เคยได้ทำเลย คือ การทำตัวให้เป็น “สถาบันที่ดี!!”
“การสร้างสรรค์” (Creation) นั้น กลับแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจาก “การแข่งขัน” (Competition) เพราะการสร้างสรรค์ คือ การทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ โดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร เป็นเข็มมุ่งที่ต้องการบรรลุ “ความเป็นเลิศ” โดยไม่ได้สนใจว่าจะชนะใคร หรือแพ้ใคร การสร้างสรรค์จึงมีความเป็นอิสระมากกว่า ไม่ต้องเอาชีวิตไปผูกไว้กับใคร ไปเปรียบเทียบกับใคร การสร้างสรรค์ก่อให้เกิดความสุขมากกว่า มีความเครียดน้อยกว่า ไม่มีความรู้สึกริษยาใคร (อาจมีความอิจฉาบ้าง แต่ไม่ถึงกับริษยา สองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน)
เมื่อครั้งที่โธมัส อัลวาร์ เอดิสัน คิดประดิษฐ์หลอดไฟดวงแรกของโลกนั้น คำถามคือ เขาจะแข่งขันกับใครหรือ คำตอบคือ เปล่าเลย เขาไม่ได้ต้องการจะแข่งขันกับใคร เพราะไม่มีใครเคยทำหลอดไฟมาก่อน แต่เอดิสัน มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ เขาจึงทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อนนั้นได้ ผู้พันแซนเดอร์ส เจ้าพ่อไก่ทอด เคเอฟ ซี. นั้น ตอนที่คิดจะทำกิจการไก่ทอด เขาก็ไม่ได้คิดจะแข่งขันกับใคร เพราะก็ยังไม่เคยมีใครคิดทำอย่างนั้นมาก่อน แต่เขาสร้างสรรค์ในสิ่งที่เขาคิดจะทำ คนระดับโลกสองคนที่ยกเป็นตัวอย่างนี้ ไม่เคยเอาตัวเองไปผูกไว้กับคนอื่น เขาจะดีขึ้นเลวลงอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่พวกเขาเลือกและตัดสินใจ ไม่ใช่เอามาตรฐานของคนอื่นเป็นเกณฑ์
ทั้งหลาย ทั้งปวง ทั้งหมด ที่ได้อภิปรายมา ก็เพื่อจะฝากทุกท่านให้ลองพิจารณา ใคร่ครวญดู แล้วท่านจะเห็นพ้องกับผมว่า คนเราไม่ได้ขาดแคลน “วิธีทำ” หรอก แต่มักจะขาดแคลน “วิธีคิด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิธีคิดที่ถูกต้อง” ก็หวังใจว่า “7 วิธีคิด พิชิตทุกสถานการณ์” นี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านตามสมควร“สัจธรรมย้ำให้มี ‘วิธีคิด’ แล้วชีวิตทั้งชีวิตจะสุขสันต์
เปลี่ยนความคิดเปลี่ยนชีวิตได้โดยพลัน โลกทั้งใบยังเปลี่ยนผันได้ทันตา
โลกภายนอกบอกโฉลกโลกภายใน คิดอย่างไรปรากฏลงอยู่ตรงหน้า
‘เจ็ดวิธี’ คิดให้เป็นเห็นมรรคา สว่างจ้าใสกระจ่างหนทางเดิน
ทั้งหลาย ทั้งปวง ทั้งหมด ที่ได้อภิปรายมา ก็เพื่อจะฝากทุกท่านให้ลองพิจารณา ใคร่ครวญดู แล้วท่านจะเห็นพ้องกับผมว่า คนเราไม่ได้ขาดแคลน “วิธีทำ” หรอก แต่มักจะขาดแคลน “วิธีคิด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิธีคิดที่ถูกต้อง” ก็หวังใจว่า “7 วิธีคิด พิชิตทุกสถานการณ์” นี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านตามสมควร“สัจธรรมย้ำให้มี ‘วิธีคิด’ แล้วชีวิตทั้งชีวิตจะสุขสันต์
เปลี่ยนความคิดเปลี่ยนชีวิตได้โดยพลัน โลกทั้งใบยังเปลี่ยนผันได้ทันตา
โลกภายนอกบอกโฉลกโลกภายใน คิดอย่างไรปรากฏลงอยู่ตรงหน้า
‘เจ็ดวิธี’ คิดให้เป็นเห็นมรรคา สว่างจ้าใสกระจ่างหนทางเดิน
หนึ่ง ยอมรับอย่างที่เป็นเห็นปกติ ไม่ต้องริตีความใดให้ขัดเขิน
สอง มุ่งเน้นสิ่งที่มีไม่ขาดเกิน ยังเพลิดเพลินทำกิจใดไม่ขาดแคลน
สาม บ่งชี้เฉพาะสิ่งที่ทำได้ มีมากมายให้ได้ทำเป็นหมื่นแสน
สี่ ใส่ใจสิ่งต้องการอย่าคลอนแคลน ประทับแน่นเฉพาะสิ่งที่ต้องการ
ห้า ยึดมั่นกับเป้าหมายไม่ยึดติด สุขเป็นนิจกับวิถีที่เดินผ่าน
หก สอดส่ายหาโอกาสอาจพบพาน โชคเบ่งบานอยู่เกลื่อนตาลองหาดู
เจ็ด หมายมาดปรารถนาการสร้างสรรค์ เลิกแข่งขันเลิกแย่งชิงเลิกต่อสู้
สอง มุ่งเน้นสิ่งที่มีไม่ขาดเกิน ยังเพลิดเพลินทำกิจใดไม่ขาดแคลน
สาม บ่งชี้เฉพาะสิ่งที่ทำได้ มีมากมายให้ได้ทำเป็นหมื่นแสน
สี่ ใส่ใจสิ่งต้องการอย่าคลอนแคลน ประทับแน่นเฉพาะสิ่งที่ต้องการ
ห้า ยึดมั่นกับเป้าหมายไม่ยึดติด สุขเป็นนิจกับวิถีที่เดินผ่าน
หก สอดส่ายหาโอกาสอาจพบพาน โชคเบ่งบานอยู่เกลื่อนตาลองหาดู
เจ็ด หมายมาดปรารถนาการสร้างสรรค์ เลิกแข่งขันเลิกแย่งชิงเลิกต่อสู้
วิธีคิดเจ็ดประการหมั่นเชิดชู แล้วความสุขจะพรั่งพรูสู่ตัวเรา”
credit : kaiwaisai.com
MyAragon เส้นทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
MyAragon ธุรกิจที่รวม3เทรนด์แห่งโลกอนาคตเป็นหนึ่งเดียว
โทร.089-071-8889 คุณ อานนท์
LINE ID : jumbolife
วีว่าพลัส VIVA plus น้ำองุ่นสกัดเข้มข้น
ค่าต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในโลก
ค่าORAC SCORE 244,050 หน่วย
รับรองโดยสถาบันBRUNSWICK
ที่โด่งดังจากคลิป โดม กินวิตามิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น