โรคเส้นเลือดขอด เป็น โรคของหลอดเลือดที่พบบ่อยที่สุด โดยคำว่า เส้นเลือดขอด หรือ Varicose vein นั้น หมายถึง การที่หลอดเลือดดำ ในบริเวณใต้ผิวหนังชั้นตื้น(Superficial veins) มีการโต ขยายขนาด คดเคี้ยว ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าในขณะที่เรายืน
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ] |
[แก้ไข] อุบัติการณ์ของโรค
โรคนี้ มักพบใน สตรี อุบัติการณ์ เพิ่มขึ้นตาม อายุ น้ำหนักตัว จำนวนบุตร ความสัมพันธ์ กับ อาชีพที่ต้องยืนนั้น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ ที่แน่นอน เช่น ยืนน้อย อาจเป็นได้ ยืนมากๆ อาจเป็นน้อยกว่า อย่างไรก็ตามพบว่า การยืน หรือนั่งนานๆ ก็ มีส่วนที่ทำเกิด
[แก้ไข] สาเหตุ
ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุ แน่ชัดว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร มีสมมุติฐานมากมาย สมมุติฐานที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ เกิดจากความผิดปกติ (Weakness) ของ ลิ้น(Valve) และผนังหลอดเลือด ซึ่งลิ้นในหลอดเลือดดำนั้น เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ
[แก้ไข] อาการ
- อาจจะมีอาการปวดแบบไม่มีแบบแผนที่แน่ชัด(Non-specific), รู้สึกว่าขาหนักๆเป็นผล มาจากการที่มีเลือดมา pool ที่ขาทำให้ เส้นเลือดที่ขาโป่งออก
- อาการจะแย่ลง เมื่อยืน หรือ นั่งนานๆ จะดีขึ้นเมื่อยกขาสูงกว่าหัวใจ
- ปกติ จะไม่มีบวม อาการบวมอาจเกิดจากมีความผิดปกติของหลอดเลือด ชั้นลึกด้วย
- อาการปวดกล้ามเนื้อเวลานอนมักไม่ค่อยมีถ้ามีอาจต้องสืบค้นเพิ่มเติม อาจมีเรื่อง ของหลอดเลือดแดงร่วมด้วยได้
[แก้ไข] การรักษา
การรักษา แบ่งเป็น 2 อย่าง
1. การรักษาแบบ ประคับประคอง(Conservative treatment) โดยทั่วไป จะใช้วิธีนี้ ซึ่งจะเน้นหนักไปทางการป้องกันและรักษาตามอาการ มากกว่าซึ่งสามารถทำได้โดย สวมถุงน่อง ชนิดพิเศษ ซึ่งจะมีความหนาและแน่น กว่าถุงน่องทั่วไป โดยทั่วไป จะมี ความดัน อยู่ในช่วง 20-30 mmHg การสวมจะต้องสวมตั้งแต่ โคนขา ถึง ข้อเท้า สวมน้อยกว่านี้ เช่น เฉพาะตรงเส้นเลือด ไม่ได้ผล
2. การรักษาแบบเฉพาะ (Specific treatment) ซึ่ง จะทำการรักษา แบบนี้ เมื่อ มีอาการมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น รวมทั้ง ในแง่ความสวยงาม ภาวะแทรกซ้อนของโรคเส้นเลือดขอด มีดังนี้
- เลือดออก
- มีแผลเรื้อรัง ไม่หาย
- มีผิวหนังอักเสบ
- มีภาวะเส้นเลือดอุดตัน
[แก้ไข] การรักษาแบบเฉพาะ มี 2 ประเภทคือ
1. การฉีดสาร Sclerosing เข้าไปในหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้ เส้นเลือดนั้น ฝ่อ แล้วยุบตัวไป นิยมทำกันในเส้นเลือด ขนาดเล็กๆไม่ใหญ่มาก หรือ ใช้กับเส้นเลือดที่หลงเหลือ หรือเป็นซ้ำหลังจากการผ่าตัด ข้อดี คือ -ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องนอน รพ.
ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีด -แพ้สารที่ฉีดได้ -อาจเกิด เส้นเลือดอุดตันได้ -มีผิวหนังอักเสบ ถ้ายาที่ฉีด มีการซึมออกนอกเส้นเลือด
2. การผ่าตัด เหมาะกับ หลอดเลือด เป็นยาวเกือบทั้งขา ขนาดใหญ่ ไม่สามารถฉีด Scerosing Agent ได้
ไม่ว่าจะรักษา ด้วยวิธีใด หลังจากนั้น ควรสวมถุงน่อง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ สวมเวลาที่ต้องทำงาน ที่ยืน หรือเดิน
[แก้ไข] โรคแทรกซ้อนของการรักษามีอะไรบ้าง
- การผ่าตัด จะมีโรคแทรกซ้อนจากการดมยา เช่นคลื่นไส้อาเจียน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และยังเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัด
- sclerotherapy โรคแทรกซ้อนขึ้นกับสารที่ใช้ บางชนิดทำให้เกิดอาการแพ้ บางชนิดทำให้เกิดอาการปวด บางชนิดทำให้เกิดรอยดำ
- การรักษาแต่ละชนิดจะไม่หายขาดเนื่องจากร่างกายอาจจะสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่หรือเส้นเก่าเกิดพองเหมือนก่อนรักษา และยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดใหม่
[แก้ไข] วิธีป้องกันจากโรคเส้นเลือดขอด
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และเป็นประจำ เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะถ้าน้ำหนักเยอะจะทำให้การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี
- ไม่ควรนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ
- ไม่สูบบุหรี่ และถ้ายังสูบบุหรี่อยู่ก็ควรงดอย่างถาวรจะดีที่สุด
- ถ้าเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือมีไขมันสูง ควรได้รับการรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว เช่น ยาลดน้ำมูกบางชนิด
- ผู้หญิงที่มีปัญหาในภาวะ Raynaud’s phenomenon ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดในบางราย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นเลือด เพื่อทำให้การทำงานของเส้นเลือดสมดุล ทำให้เส้นเลือดคลายตัว ไม่ทำงานมากเกินไป ลดการอักเสบของเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดขยายตัวดีขึ้น อาหารที่ควรรับประทาน คือ ผัก ผลไม้ และอาหารเสริมที่ควรรับประทาน คือ วิตามินซี วิตามินอี รวมถึง วิตามินบี 3 กรดอะมิโน เช่น L- Arginine สมุนไพรต่างๆ เช่น แปะก๊วย (Ginkgo), โสม (Ginseng), น้ำมันปลา (Fish Oil) รวมถึง Primrose Oil
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
FoodMatrix นวัตกรรมสารอาหารแห่งชีวิต
089-071-8889 คุณ อานนท์
www.FoodMatrix.tk
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น