วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มั่งคั่งอย่างไร ... ไม่รู้จบ


เวลาพูดถึงความมั่งคั่ง คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงภาพคนรวยที่มีทรัพย์สินเงินทองมากๆ และมีช่องทางที่จะทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนได้ต่อไปเรื่อยๆ

ที่จริงแล้วความมั่งคั่งสามารถมองได้หลายมุม จึงมีได้หลายความหมาย หลายระดับของความพอใจ แล้วแต่การตีความ บางคนบอกว่า การมีงานทำ มีความมั่นคงในอาชีพการงาน คือ ความมั่งคั่ง บางคนก็วัดความมั่งคั่งจากการมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำไมคนเราจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งกัน สิ่งที่ซ่อนลึกๆ อยู่ในจิตใจของคนส่วนใหญ่ก็คือ “ความมีอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom)” ลองนึกถึงสภาพที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ยังมีเงินใช้โดยไม่เดือดร้อน หรือเรายังรักที่จะทำงาน แต่ไม่ต้องอาศัยเงินเดือนนี้เป็นหลักในการดำรงชีวิต เราอาจนิยมความมีอิสรภาพทางการเงินได้ว่า อิสรภาพทางการเงิน หมายถึง การที่คนเรามีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายตามสมควรแก่อัตภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาใครมากจนเกินไป และไม่ต้องผวาดผวากับปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ ว่าจะมีไม่พอกับการจับจ่ายใช้สอยเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในอนาคต ถ้าอิสรภาพทางการเงินเป็นเป้าหมายของคนส่วนใหญ่ แต่สังเกตหรือไม่คนที่พาตัวเองไปถึงระดับการมีอิสรภาพทางการเงินกลับมีไม่มากเลย มีเคล็ดลับอะไรหรือไม่ที่ทำให้บางคนบรรลุเป้าหมายในเรื่องนี้ได้ ตามเรามาสิครับ
1.1 ความมั่งคั่ง : เราสร้างขึ้นมาอย่างไรวิชาการด้านการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล ระบุไว้ว่า ความมั่งคั่ง หมายถึง ขนาดของสินทรัพย์สุทธิของบุคคลซึ่งมาจากสินทรัพย์รวมของบุคคลหักออกด้วยหนี้สินของบุคคล และการบริหารความมั่งคั่งของบุคคล หมายถึง กระบวนการจัดการให้เกิดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของสินทรัพย์สุทธิ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินสำหรับตนเอง หรือลูกค้าในระยะเวลาต่างๆ
คนที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้ คือ คนที่เห็นเคล็ดลับว่า
รู้หา (How to earn) คือ รู้วิธีใช้ความสามารถของตน (Human Assets) ในการหารายได้ การได้เงินเดือนจากการทำงานของเราเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ยิ่งการงานประสบความสำเร็จ เงินเดือนก็จะสูงขึ้น ยิ่งส่งผลให้ความสามารถที่จะออมได้มีมากขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานอย่างดีของการสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้น ช่องทางของการรู้หาไม่ได้มีเฉพาะการเป็นลูกจ้าง แต่การเลือกนำเงินทุนและแรงงานของเราไปลงทุนเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ก็ทำให้มีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งเป็นรากฐานของการออมเพื่อความมั่งคั่งได้เป็นอย่างดี
รู้เก็บ (How to save) การแบ่งรายได้มาเพื่อออมทันทีเป็นการสร้างวินัยการเงินเพื่อให้ฐานของเงินออมขยายตัวเพิ่มรองรับการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต และเงินออมควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามวัตถุประสงค์ของการออม ซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว
รู้ใช้ (How to spend) การใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นหลักคิดสำคัญ เพื่อให้รายได้ที่คงเหลือเป็นเงินออมมีเพียงพอที่จะใช้ขยายฐานสร้างความมั่งคั่งในวันข้างหน้า
รู้ขยายผล (How to invest) แนวคิดออมดีกว่าไม่ออม และออมก่อนรวยกว่า ยังไม่พอที่จะสร้างความมั่งคั่งได้ เราจะต้องเรียนรู้ว่าเงินออมของเรามีทางเลือกอะไรบ้างที่จะนำไปขยายผลให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ไม่ใช่ฝากธนาคารอย่างเดียว
1.2 ไม่มีความมั่งคั่งสักที เป็นเพราะอะไร “ทำไมคนรวยจึงรวยเอาๆ และทำไมคนจนจึงจนอยู่ดักดาน”
ความเข้าใจผิดประการที่ 1 :
การมีงานทำเป็นทางเดียวที่จะสร้างความมั่งคั่งได้เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราต้องทำงาน ตั้งใจทำงานให้ก้าวหน้าเติบโตต่อไป และเก็บเงินเก็บทองเพื่อให้เกษียณได้อย่างมั่นใจว่าจะมีเงินไว้ใช้จ่ายได้อย่างเพียงพอ ที่จริงความคิดเช่นนี้ไม่ผิด เพราะการเก็บออมเงินจากรายได้ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด เป็นฐานของการสร้างความมั่งคั่ง แต่การขยายความมั่งคั่งจากเงินออมของมนุษย์เงินเดือนทำได้ไม่เร็วนัก คนรวยไม่ได้คิดเช่นนี้ ลองดูหลักการที่อธิบายเกี่ยวกับความมั่งคั่งไว้ว่า “Wealth is when small efforts produce large results” ไม่ว่าคุณจะรักงานที่ทำมากเพียงใด ถ้ามันไม่ได้ก่อให้เกิดผลทวีคูณเกี่ยวกับความมั่งคั่ง ก็ให้จงเชื่อเถิดว่า การพึ่งพิงรายได้จากการทำงานเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิถีทางทำให้เกิดผลอย่างใหญ่หลวง (Large Results) ต่อความมั่งคั่งได้

คำตอบในเรื่องนี้ก็คือ ไม่ใช่เพียงแต่ทำงานหนัก (Work Harder) แต่ต้องเป็นการทำงานอย่างฉลาด (Work Smarter) ด้วย การทำงานควรถูกมองว่าเป็นความไม่สะดวกสบายชั่วคราว (A temporary inconvenience) เท่านั้น การทำงานช่วยให้เรามีกระแสเงินสดรับเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต และถ้าต้องการให้มีกระแสเงินสดรับสุทธิคงเหลือมากๆ ส่วนที่เหลือมาจากการทำงานจะมีอยู่จำกัด ลองคิดดูว่า คุณจะออมได้มากที่สุดเท่าไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว ทางที่ดีคุณจะต้องเรียนรู้วิธีสร้างกระแสเงินสดรับเพิ่มเติมจากสินทรัพย์อื่นๆ นอกจากตัวคุณซึ่งเป็น Human Asset เพียงอย่างเดียวที่มุ่งหารายได้จากการทำงาน

ความเข้าใจผิดประการที่ 2 :
การฝากเงิน คือ การลงทุนที่ดีนี่ก็อีกเหมือนกัน การออมเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน เป็นรากฐานการสร้างความมั่งคั่ง ประเด็นเรื่องการออมนี้ ความสำคัญอยู่ที่การมีวินัยที่จะออมอย่างสม่ำเสมอ และต้องเริ่มต้นตั้งแต่อายุน้อยๆ จึงจะได้เปรียบ อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมั่งคั่งจะไม่เคยคิดเลยว่า เงินออมที่ได้จากกระแสเงินสดรับสุทธิ แล้วนำไปฝากธนาคารจะช่วยสร้างความ มั่งคั่งได้ (ลองพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแล้วปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อดู)

คนส่วนใหญ่อ้างว่า การฝากธนาคารมีความปลอดภัย (ข้อนี้ก็ต้องพิจารณาว่าในอนาคตรัฐบาลจะไม่ค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนแล้ว) อันนี้น่าจะเป็นความเคยชิน ความคุ้นเคยของเรามากกว่า ลองมองย้อนไปดูว่า ฝากเงินมาหลายปีแล้ว เรารวยขึ้นขนาดไหน ถ้าประเด็นคือ คุณต้องการความมั่งคั่ง คุณก็ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะ Save Smart

ให้ระลึกไว้ว่า เงินออมในรูปเงินฝากของคุณถือว่าอยู่ในสถานะสินทรัพย์สภาพคล่องที่มีผลตอบแทนไม่สูงมาก และเรานำมาอยู่ในสถานะนี้ชั่วคราวเท่านั้น (Parked Temporarily in Liquid) มันรอคอยให้เรากระจายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า อาจจะมีสภาพคล่องไม่สูงเท่า แต่เราต้องมาตอบว่า เราต้องการสภาพคล่องขนาดไหน ขนาดที่จะต้องมีเงินฝากเป็นสินทรัพย์การเงิน 100% ที่เราถือครองหรือไม่

ความเข้าใจผิดประการที่ 3 :
การมีหนี้สินเป็นสิ่งที่เลวร้าย จงหลีกหนีให้ไกลเหมือนเชื้อโรคอันนี้เริ่มต้นก็ต้องชี้แจงก่อนว่า ไม่ได้มาสนับสนุนให้ทุกคนเป็นหนี้ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่มีภาระหนี้สูงมักจะมาจากการบริโภค ทำให้เกิดหนี้ประเภท Consumer Debt ขึ้น หนี้ประเภทนี้นี่แหละที่ควรหนีให้ไกลเหมือนเวลาเจอเชื้อโรค เพราะเป็นตัวบั่นทอนความมั่งคั่ง ทำให้ฐานเงินออมเราลดลง ค่านิยมของการซื้อของมาบริโภค และทำให้ดูเหมือนว่า “มีภาพของความมั่งคั่ง (Appearance of Wealth)” เป็นค่านิยมที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความมั่งคั่งที่แท้จริงได้เลย

แต่การมีหนี้ประเภท Investment Debt เป็นอีกคนละเรื่อง ลองนึกถึงตัวอย่างการซื้อบ้านซึ่งมีราคาแพง บางครั้งเรามีเงินไม่พอ ต้องไปกู้ธนาคารมาบางส่วน การเกิดหนี้ประเภทนี้ทำให้ได้สินทรัพย์มาถือครองเพื่อใช้ประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งอาจทำกำไรให้ผู้ลงทุนได้ แต่ผู้ลงทุนก็ต้องมีภาระการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งต้องไปบริหารจัดการรายได้รายจ่ายของตนเองให้ดี ไม่ลงทุนอะไรเกินความสามารถที่จะทำให้กระแสเงินสดสุทธิมาจ่ายได้ (เพราะถ้าเกินตัวไปมาก เราก็จะได้เห็นหนี้เสียประเภท NPL ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น)

หนี้ประเภท Investment Debt ก็เหมือนหนี้ประเภทอื่นที่พอเราจะกู้ก็เกิดความกังวลว่าจะจ่ายได้ไหม ไม่มีใครอยากเป็นหนี้หรอกครับ ใครๆ ก็อยากเป็นไททั้งนั้น แต่ถ้าการก่อหนี้เป็นเครื่องมือให้คุณเป็นไททางการเงินได้ในอนาคต อันนี้ก็น่าสนใจนะครับ ให้คิดไว้ว่า คนรวยเขามองว่า “You can never become wealthy without going into some from of investment debt.” ปัญหาอยู่ที่การบริหาร Investment Debt อย่างชาญฉลาดนี่เอง

ที่มา โพสต์ ทูเดย์












ธุรกิจ AragonWorld 54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
เน็ตเวิร์คมาร์เก็ตติ้ง ที่รวม3เทรนด์แห่งศตวรรษ เป็นหนึ่งเดียว..คลิ๊ก!!!



VIVA plus (วีว่า พลัสน้ำองุ่นสกัดเข้มข้น คุณค่าดื่ม 1 ออนซ์=ไวน์แดง 15 ขวด ค่าการต้านอนุมูลอิสระ orac score สูงที่สุดในโลก 244,050 รับรองโดย แล็บ Brunswick หน่วยงานในสังกัดของ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โด่งดังจากคลิป โดมกินวิตามิน ในyoutube
www.VIVApluslife.blogspot.com
www.VivaAragon.com



FoodMatrix 
นวัตกรรมสารอาหารเพื่อสุขภาพ 
จากงานวิจัยรางวัลโนเบลปี1999








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น