วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภัยเงียบของวัยทอง


โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)


ความหมาย : “โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)” คือ ภาวะที่ปริมาณมวลกระดูกทั่วร่างกายลดลง ร่วมกับ การเปลี่ยนแปลงโรคงสร้างภายในที่เสื่อมลง สูญเสียความแข็งแรง อาจแตกหักได้ง่าย

เกณฑ์การวินิจฉัย โรคกระดูกพรุน
  1. ความหนาแน่นมวลกระดูก มากกว่า -1.0 S.D. ปกติ
  2. ความหนาแน่นมวลกระดูก -1.0 S.D.ถึง-2.5 S.D. กระดูกบาง
  3. ความหนาแน่นมวลกระดูก น้อยกว่า – 2.5 S.D. กระดูกพรุน
S.D. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเฉลี่ยของค่ามวลกระดูกของคนปกติอายุระหว่าง 25-35 ปี
“โรคกระดูกพรุน”แบ่งออกเป็นสองชนิดตามสาเหตุที่เกิด
  1. โรคกระดูกพรุนที่ไม่มีสาเหตุเฉพาะ พบใน 3 ช่วงอายุ คือ วัยผู้สูงอายุ วัยหนุ่มสาว วัยเด็ก ทั้งนี้วัยผู้สูงอายุ พบมากที่สุด และ มักเป็นกระดูกพรุนหลังหมดระดู (วัยทอง)ในเพศหญิงอายุ 55-65 ปี และ ช่วง 10-20 ปีแรกหลังหมดระดู (วัยทอง) และ ในวัยชราพบในอายุมากกว่า 70 ปี ทั้งสองเพศ
  2. โรคกระดูกพรุน ที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น การเป็นโรค hyperthyroidism, cushing’s syndrome หรือ การได้รับยาคอร์ติโคเสตอรอยด์เป็นเวลานาน
ระบาดวิทยา
  1. พบในเพศหญิงเป็นโรคกระดูกพรุน มากกว่าเพศชาย 10 เท่า
  2. 1 ใน 3 ของเพศหญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี มีกระดูกสันหลังยุบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
  3. การเกิดกระดูกสะโพกหักในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า
ปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคกระดูกพรุน
  1. มีประวัติกระดูกพรุนในครอบครัว
  2. รูปร่างผอม เล็ก
  3. ไม่มีระดู หรือ หมดระดูก่อนวัย ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
  4. ออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
  5. ขาดแอนโดรเจน
  6. ดื่มกาแฟปริมาณมาก
  7. รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมน้อยเกินไป
  8. ดื่มแอลกอฮอล์มาก
  9. รับประทานเนื้อสัตว์มาก
  10. เป็นโรคไทรอยด์ ชนิดไทรอยด์มาก
  11. ไม่เคยออกกำลังกาย หรือ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากๆ
กระดูกสันหลังยุบในผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง ตัวเตี้ยลง หลังค่อม การเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก หายใจลำบากเนื่องจากการทำ
งานของปอดลดลง รับประทานอาหารได้น้อยลงเนื่องจากปริมาตรช่องท้องเล็กลง เป็นต้น
การป้องกันและรักษา
  1. รับประทานสารอาหารที่มีแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ
  2. ออกกำลังกายอย่างพอดี
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้มวลกระดูกลดลงจามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
  4. การรักษาโดยการใช้ยารักษาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก และ ยาส่งเสริมการสร้างกระดูก

บล็อคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกพรุน

Calcitone FoodMatrix แคลเซียมระดับเทพ

http://jumbolifeschool.blogspot.com/2011/06/calcitone-foodmatrix.html



CALCITONEแคลเซี่ยม FOODMATRIX

ดูดซึมได้มากกว่า90%

คงสภาพในร่างกายได้นานกว่า

มีโปรตีนนำพานำไปใช้ได้ตรงจุด

Calcitoneแคลเซี่ยม ดูดซึมได้มากกว่า90% คงสภาพในร่างกายได้นานกว่า มีโปรตีนนำพานำไปใช้ได้ตรงจุด
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
FoodMatrix นวัตกรรมอาหารแห่งชีวิต
089-071-8889 คุณ อานนท์





FoodMatrix 
นวัตกรรมสารอาหารเพื่อสุขภาพ 
จากงานวิจัยรางวัลโนเบลปี1999















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น