วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เส้นทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ 5 ประเภท โดย ดร.บุญชัย โกศลธนากุล



เส้นทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ 5 ประเภท
เส้นทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ 5 ประเภท
ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยไหน หรือสังคมใด คำว่า "อัจฉริยะ" สามารถดึงดูดความสนใจจากเหล่าบรรดานักอ่านได้ดี ทำให้มีหนังสือมากมายนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยะ แต่สิ่งที่ทำให้ "The Five Faces of Genious " เขียนโดย ANNETTE MOSER-WELLMAN เหนือกว่าเล่มอื่น ๆ ก็คือ การนำเสนอความเป็นอัจฉริยะด้วยมุมมองที่แตกต่าง และแนะนำแนวทางให้คนในยุคสหัสวรรษ ที่ชีวิตเต็มไปด้วยการแข่งขันไขว่คว้าหาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ให้หยุดนิ่งแล้วหันกลับเข้าไปค้นหาและดึงเอาความเป็นอัจฉริยะภายในตัวเองออกมาใช้ ด้วยการเดินทางกลับเข้าสู่จิตใจตัวเองตามเส้นทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ 5 ประเภท ดังนี้
1. ใช้พลังของจินตนาการ
ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้

ผู้ที่มีความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเป็นภาพ ที่เพรียบพร้อมไปด้วย แสง สี เสียง และความรู้สึก และ คิดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วในจินตนาการ แล้วพยายามหาวิธีการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นจริง เช่น โมสาส สามารถแต่งเพลงเสร็จตั้งแต่อยู่ในหัว และยังรู้ด้วยว่าช่วงไหนจะใช้เครื่องดนตรีประเภทใดบรรเลง เป็นต้น
ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ ปัญญาจะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในสภาพสบาย ๆ ดังนั้น ถ้าเราต้องการดึงพลังแห่งจินตนาการของตัวเองมาใช้ ควรอยู่ในอิริยาบถสบาย ๆ อาจจะเป็นการนั่ง หรือ นอนแต่ต้องรู้สึกตัวตลอดเวลา และควรมีสมุดเล็ก ๆ ติดตัวเพื่อจดภาพความคิดที่ผุดขึ้นมา เพราะภาพที่ผุดขึ้นมาและจางหายไปอย่างรวดเร็ว เช่นกัน สำหรับบางคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีจินตนาการและอยากจะมีความคิดดังกล่าวสามารถทำได้โดย
วิธีการสร้างจินตนาการ
1. หัดเขียนบันทึกเหตุการณ์โดยเน้นบรรยายความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น และควรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานนัก เช่น การบรรยายความรู้สึกเมื่อไปเที่ยวทะเล ควรนึกให้ได้ว่า เมื่อสัมผัสโดนลมแล้วรู้สึกอย่างไร เหนียวตัว , เป็นลมร้อน หรือเย็นสบาย เป็นต้น
2. หัดคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ เช่น การจินตนาการอย่างรอบด้านถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากจินตนาการ
3. ถ้าเราต้องเขียนโครงการ รายงาน บทความต่างๆ ให้หัดเขียน outline ในใจก่อนแล้วค่อยลงมือเขียนจริง
2. ช่างสังเกต
ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้
นิ่ง ๆ นั่งเฉย ๆ ไม่ชอบพูด แต่จะมีความละเอียดอ่อนในการมองเห็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะ เวลามองสิ่งต่าง ๆ จะสังเกตรายละเอียดทั้งรอบ ๆ สิ่งนั้น และภายในตัวสิ่งนั้น และยังเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอีก จึงทำให้เกิดภาพการหยั่งรู้ จะมีรับข้อมูลที่แปลกใหม่มากกว่าคนอื่น ๆ จึงมักเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียว เช่น เดินป่าคนเดียวเป็นเวลานาน ๆ และเป็นผู้ที่อยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ซึ่งจะสะท้อนความอยากรู้ออกมาในลักษณะของคำถามหลักว่า " ทำไม "
ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ จะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น ต้องเป็นนักเดินทาง หรือการไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ใช้ชีวิตไม่ซ้ำซาก สำหรับบางคนที่ต้องทำงานซ้ำซากก็มีวิธีแก้ โดยแบ่งเวลาว่างในแต่ละวัน ไปศึกษาอะไรแปลกใหม่ให้ชีวิต เช่น ใช้การอ่าน หรือการดู เป็นต้น
วิธีการสร้างนิสัยเป็นคนช่างสังเกต
1. ให้เจาะจงเลือกกิจกรรมหนึ่งแล้วลงมือทำอย่างช้า และคอยสังเกตรายละเอียดของการทำงานชิ้นนั้น
2. หัดตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ว่า "ทำไม" เพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเกิดการเก็บข้อมูลและเมื่อทำเช่นไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราเกิดการเปรียบเทียบ
3. หัดอยู่คนเดียวทบทวนความคิด พฤติกรรมของตนเองในแต่ละวัน
4. หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตแบบซ้ำ ๆ ซาก ๆ เช่น ตื่นกี่โมง ขึ้นรถกี่โมง เพราะเป็นการทำลายความคิดสร้างสรรค์
3. นักเล่นแร่แปรธาตุ
ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้

คนที่สามารถดึงสิ่งต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมโยงกับเป้าหมายสำคัญที่ต้องการ โดยพลังความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้โดยการจับข้อมูลต่างสาขา มาสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันจนกระทั่งเกิดความคิดใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายที่สำคัญและแน่นอนที่มีอยู่ เช่น ธุรกิจไบโอเทคที่ในขณะนี้ต้องนำการทดลองมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในด้าน packaging ของผลิตภัณฑ์ ให้ดูสวยงาม เป็นต้น
ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้ เกิดจากความคิดที่ว่า " ทำเพราะอยากทำ " เช่น ลงแรงเพื่อต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน หรืองานหรือเป็นหน้าที่ เป็นต้น ดังนั้น มีความสามารถในการอ่าน หรือดูอะไรโดยไม่มีวัตถุประสงค์หลัก แต่เขามีเป้าหมายหลักในใจอยู่แล้ว แต่ทำเพราะอยากจะทำ
วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้
1. พยายามอย่ายึดติดกับแนวคิดในสายงานหรือความคิดของตนให้มากเกินไป
2. รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้งานของตนออกมาดี
3. ควรหมั่นหาความรู้ที่นอกเหนือจากสายงานประจำให้มากขึ้น อาจทำได้โดย การอ่าน หรือการพูดคุยกับคนต่างอาชีพ
4. คิดนอกกรอบ
ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้
เมื่อตัดสินใจลงทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ ถึงแม้ว่าทำผิดแล้วผิดอีกก็ยังจะทำ แต่มีคำถามอยู่ในใจว่า จะขอลองทำอีกครั้ง แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ผิดพลาด และมีการวิเคราะห์ว่าความผิดพลาดเกิดจากอะไร มีสาเหตุอะไร เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดการผิดซ้ำสอง เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นทำการทดลอง ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่มีความอดทนสูงสามารถรับความผิดพลาดในชีวิตและยอมรับการดูถูกดูแคลนได้ เพราะเขารู้จักตัวเอง รู้ว่าคิดตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่
ความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้จะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อเราต้องทำอะไรในเวลาอันจำกัด แต่ต้องมี Positive Thinking ว่าเราสามารถทำได้ พลิกสถานการณ์ได้ จะลำบากยังไง ใครจะหัวเราะเราก็ต้องเชื่อว่าเราจะทำให้ได้
วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้
1. คิดกลับหัวหลับหาง
2. หัดวิเคราะห์ความล้มเหลวว่า ทำไมจึงล้มเหลว และจะแก้ไขอย่างไร
3. มีความอดทนเป็นเลิศ ทนต่อคำดูถูกดูแคลนจากคนอื่น และทนต่อความตรากตรำ จนกว่าจะหาวิธีการพิสูจน์ความเชื่อของตนเองออกมาได้
5. นักปราชญ์
ลักษณะของผู้ที่วิธีคิดแบบนี้
เป็นผู้ที่สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สามารถอธิบายหรือเขียนอย่างสั้น ๆ กระชับ ได้ใจความ
ใช้คำที่คม สั้นแต่เข้าใจได้ง่าย เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ เป็นต้น และรักการเรียนรู้โดยเฉพาะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ฉะนั้นส่วนใหญ่คนประเภทนี้จะเป็นนักอ่าน เพราะการอ่านเปรียบเสมือนพื้นฐาน ของปัญญาอันหลักแหลมของปราชญ์ ทำให้สามารถคิดได้หลายมิติ และไม่ค่อยคิดในทาง Negative เพราะมีความรู้มากก็หาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
วิธีการสร้างความเป็นอัจฉริยะประเภทนี้
1. ให้เน้นความเรียบง่าย
2. มีความกล้านำเสนอความคิดตัวเอง กับบุคคลสำคัญ ๆ หรือคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ และไม่กลัวถ้าจะเกิดการปะทะกันระหว่างความคิด
ถึงแม้ว่า บางคนจะมีความเป็นอัจฉริยะครบตามที่กล่าวมาทั้งหมด แต่นั่นไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ เพราะ ที่กล่าวมาเป็นการสร้างปัญญาให้กับตัวเราเอง ทำให้เราสามารถสร้างความฝันให้ตัวเอง แต่ความฝันนั้นจะเป็นจริงได้ เราต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนความคิดที่เราสร้างขึ้นมาจาก 5 วิธีกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อสานความฝันของเราให้กลายเป็นความจริง

----------------------------------

บทความโดย
ดร.บุญชัย โกศลธนากุล



ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
เน็ตเวิร์คมาร์เก็ตติ้ง ที่รวม3เทรนด์แห่งศตวรรษ เป็นหนึ่งเดียว..คลิ๊ก!!!




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น