เยียะหว่างเมี่ยงหรือศาลเจ้างักฮุยเป็นสถานที่ฝังศพและสถานที่ระลึกถึงจอมทัพผู้เกรียงไกรที่รักษาเกียรติยิ่งชีวิตของตนผู้หนึ่งในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ประมาณ 950 ปีก่อน งักฮุยเป็นลูกกำพร้าพ่อ เนื่องในคราวเกิดอุทกภัยพ่อจับแม่ที่กำลังอุ้มงักฮุยในอกใส่ตุ่มเมื่อเกิดน้ำท่วม พ่อถูกกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากพัดไปจนเสียชีวิต ตุ่มที่ใส่แม่และงักฮุยลอยไปติดเมืองหนึ่งหลังจากน้ำลดลงและแล้วแม่ก็เลี้ยงลูกจนโต งักฮุยได้รับการอบรมจากแม่และอาจารย์เป็นอย่างดี จึงเข้ารับราชการทหาร เนื่องด้วยสมัยนั้นชนเผ่าเหลียวและจินบุกรุกฮั่น จนต้องย้ายราชานีมาตั้งอยู่ที่หางโจวและตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่“หลินอาน”งักฮุยเป็นจอมทัพที่มีความสามารถและจงรักภักดีต่อชาติ ต่อต้านข้าศึกอย่างกล้าหาญ แต่เนื่องจากฮ่องเต้และมหาอุปราชฉินไคว่ขี้ขลาดยอมจำนนและใช้อำนาจสูงสุด 12 ป้ายทอง เรียกตัวงักฮุยกลับจากสนามรบและใส่ร้ายนานาชนิดโดยใช่เหตุ และแล้วก็หาเรื่องประหารงักฮุยและลูกอายุ 17 ปีจนเสียชีวิต ชาวบ้านผู้หนึ่งนำศพของงักฮุยฝังและทำตำหนิไว้ พร้อมทั้งสร้างสถานฝังศพหลายแห่งและบอกลูกว่าเมื่อไรมีฮ่องเต้ที่ดี จึงบอกหลุมฝังศพจริงให้ทราบ หลังจากพระเจ้าเกาจงฮ่องเต้ จ้าวโกวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าเสี้ยจงฮ่องเต้ขึ้นครองราชย์ มีนโยบายที่ค่อนข้างเอาใจประชาชนและราชการแผ่นดิน จึงเปิดเผยที่ฝังศพอันแท้จริงของงักฮุย พระเจ้าเกาจงขอให้ย้ายศพของงักฮุยผู้รักชาติมาฝังริมทะเลสาบอย่างสมเกียรติแบบเจ้าเมือง และหล่อรูปเหล็กของกังฉินไคว่และเมียพร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่ใส่ร้ายงักฮุยคนให้คุกเข่าหน้าสุสานของงักฮุยและเยียะหยุนและประตูทางเข้าหลังกังฉินมีกลอนคู่เขียนว่า“ธรณีมีโชคที่ฝังศพผู้จงรักภักดี เหล็กบริสุทธิ์เสียดายที่เอามาปั้น คนสารเลว” คนหางโจวก็ยังไม่หายแค้นกับผู้ที่เลวร้ายต่อแผ่นดิน จึงนำเอาแป้งหมี่ปั้นเป็นคน 2 คน เอามาผูกให้ติดกัน นำมันให้สะใจ ถึงกระนั้นก็ยังไม่หายแค้นยังเอามันมาเคี้ยวกิน เพระชื่อฉินไคว่ก็อ่านว่า “คุ่ย”จึงว่า“น้ำมันทอดฉินคุ่ย” เดี๋ยวนี้คนไทยเรามักจะเรียกกันผิดฯถูกฯ“ปาท่องโก๋” นั้นคือคำแปลของขนมจิ้มน้ำตาลทรายขาว“ปาถ่องโก้ว”
แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ธุรกิจ ชีวิต จิตวิทยา และสุขภาพ ร่วมกันเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554
งักฮุย เทพเจ้าแห่งความจงรักภักดี
เยียะหว่างเมี่ยงหรือศาลเจ้างักฮุยเป็นสถานที่ฝังศพและสถานที่ระลึกถึงจอมทัพผู้เกรียงไกรที่รักษาเกียรติยิ่งชีวิตของตนผู้หนึ่งในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ประมาณ 950 ปีก่อน งักฮุยเป็นลูกกำพร้าพ่อ เนื่องในคราวเกิดอุทกภัยพ่อจับแม่ที่กำลังอุ้มงักฮุยในอกใส่ตุ่มเมื่อเกิดน้ำท่วม พ่อถูกกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากพัดไปจนเสียชีวิต ตุ่มที่ใส่แม่และงักฮุยลอยไปติดเมืองหนึ่งหลังจากน้ำลดลงและแล้วแม่ก็เลี้ยงลูกจนโต งักฮุยได้รับการอบรมจากแม่และอาจารย์เป็นอย่างดี จึงเข้ารับราชการทหาร เนื่องด้วยสมัยนั้นชนเผ่าเหลียวและจินบุกรุกฮั่น จนต้องย้ายราชานีมาตั้งอยู่ที่หางโจวและตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่“หลินอาน”งักฮุยเป็นจอมทัพที่มีความสามารถและจงรักภักดีต่อชาติ ต่อต้านข้าศึกอย่างกล้าหาญ แต่เนื่องจากฮ่องเต้และมหาอุปราชฉินไคว่ขี้ขลาดยอมจำนนและใช้อำนาจสูงสุด 12 ป้ายทอง เรียกตัวงักฮุยกลับจากสนามรบและใส่ร้ายนานาชนิดโดยใช่เหตุ และแล้วก็หาเรื่องประหารงักฮุยและลูกอายุ 17 ปีจนเสียชีวิต ชาวบ้านผู้หนึ่งนำศพของงักฮุยฝังและทำตำหนิไว้ พร้อมทั้งสร้างสถานฝังศพหลายแห่งและบอกลูกว่าเมื่อไรมีฮ่องเต้ที่ดี จึงบอกหลุมฝังศพจริงให้ทราบ หลังจากพระเจ้าเกาจงฮ่องเต้ จ้าวโกวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าเสี้ยจงฮ่องเต้ขึ้นครองราชย์ มีนโยบายที่ค่อนข้างเอาใจประชาชนและราชการแผ่นดิน จึงเปิดเผยที่ฝังศพอันแท้จริงของงักฮุย พระเจ้าเกาจงขอให้ย้ายศพของงักฮุยผู้รักชาติมาฝังริมทะเลสาบอย่างสมเกียรติแบบเจ้าเมือง และหล่อรูปเหล็กของกังฉินไคว่และเมียพร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่ใส่ร้ายงักฮุยคนให้คุกเข่าหน้าสุสานของงักฮุยและเยียะหยุนและประตูทางเข้าหลังกังฉินมีกลอนคู่เขียนว่า“ธรณีมีโชคที่ฝังศพผู้จงรักภักดี เหล็กบริสุทธิ์เสียดายที่เอามาปั้น คนสารเลว” คนหางโจวก็ยังไม่หายแค้นกับผู้ที่เลวร้ายต่อแผ่นดิน จึงนำเอาแป้งหมี่ปั้นเป็นคน 2 คน เอามาผูกให้ติดกัน นำมันให้สะใจ ถึงกระนั้นก็ยังไม่หายแค้นยังเอามันมาเคี้ยวกิน เพระชื่อฉินไคว่ก็อ่านว่า “คุ่ย”จึงว่า“น้ำมันทอดฉินคุ่ย” เดี๋ยวนี้คนไทยเรามักจะเรียกกันผิดฯถูกฯ“ปาท่องโก๋” นั้นคือคำแปลของขนมจิ้มน้ำตาลทรายขาว“ปาถ่องโก้ว”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น