วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ทำเครือข่ายอย่างไรให้มั่นคง โดย “กาย ไพรินทร์”



ทำเครือข่ายอย่างไรให้มั่นคง


วิวัฒนาการของงานเครือข่ายหรือขายตรงยุคนี้ ต้องยอมรับว่าพัฒนาไปมาก เมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนที่คนส่วนใหญ่ยังคงปิดกั้นตัวเองจากคำว่า เครือข่าย แต่เมื่อมีการเปิดรับข่าวสาร รวมถึงเปิดกว้างยอมรับภาพของผู้คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ การเปิดใจยอมรับจึงมีเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้บางคนจะพบเจอความสำเร็จได้โดยง่ายจากการทำธุรกิจเครือข่าย แต่การรักษาไว้ให้ยั่งยืนกลับเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง คอลัมน์ “ผ่าทะลุขายตรง” โดย “กาย ไพรินทร์” บรรณาธิการผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ “ตลาดวิเคราะห์” จึงมาให้ข้อเสนอแนะถึงวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในอาชีพขายตรงอย่างยั่งยืน ติดตามรายละเอียดได้ดังนี้

ฌาฑิณี : ในยุคของสื่อไร้พรหมแดน ใครๆ ก็มักพูดถึงธุรกิจเครือข่าย แต่ก็ยังมีไม่น้อยที่มีคนมองว่าเป็นอาชีพที่สำเร็จยาก ตกลงอาชีพนี้มีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง
กาย ไพรินทร์ : ธุรกิจเครือข่ายหรือขายตรงก็เหมือนอาชีพอื่นๆ ทั่วไป คือมีทั้งดีและไม่ดี หากเป็นคนที่ทำแล้วสำเร็จ เขาก็บอกว่าอาชีพเครือข่ายนั้นดี ส่วนใครที่ทำแล้วล้มเหลว เขาก็จะบอกว่า ไม่ดี แต่วันนี้เราจะมาพูดคุยถึงคนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก หากเทียบกับสมัยเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ที่มีคนสำเร็จแบบจริงจังไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่โลกเครือข่ายยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป ทำให้อัตราคนที่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
แต่บางบริษัทก็มีอัตราความสำเร็จถึง 50 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำไป แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วรวยเอาๆ รวยทุกคน รวยล้นเหลือ มันไม่ใช่แบบนั้น เพียงแต่เขามีรายได้พิเศษเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ทำงานประจำได้เงินเดือนไม่กี่หมื่น แต่พอมาทำขายตรงก็มีรายได้เพิ่มขึ้น จากหลักพันไปจนถึงหลักหมื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ใช้แผนการตลาดแนวใหม่ พบว่าจำนวนผู้ประสบความสำเร็จเร็วมาก มีคนมีรายได้ตั้งแต่แสนบาทขึ้นไปประมาณ 5-7 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแค่ 3 เดือน 6 เดือน แต่ทำมา 3 ปี 5 ปี ถึงมีรายได้เป็นแสน
ดังนั้น หากจะให้ประเมินอาชีพเครือข่ายหรือขายตรงนี้ มีแต่ข้อดีไม่มีข้อเสีย ถึงมีก็มีเล็กน้อยซึ่งเราไม่ควรจะพูดถึงให้เสียเวลา เรามาพูดถึงความยิ่งใหญ่ของอาชีพขายตรงจะดีกว่ามาก

ฌาฑิณี : จริงเท็จแค่ไหน ที่คนหลายคนมีหนี้สินพะรุงพะรังแต่เมื่อหันมาทำอาชีพเครือข่าย ชีวิตก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
กาย ไพรินทร์ : มันก็มีความจริงอยู่เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่สามารถทำได้ เอาเป็นว่าจะขอเล่าถึงคนที่ตั้งใจทำงานจริงๆ จังๆ ก็แล้วกัน หากมีความตั้งใจจริงก็สามารถสำเร็จได้ทุกคน คนทำอาชีพเครือข่ายขายตรงบางคนเป็นหนี้ 3 ล้าน บ้าง 5 ล้านบ้าง ทำอยู่หลายปีก็สามารถล้างหนี้ได้สำเร็จ แต่คนพวกนี้เขาทุ่มเท และอีกอย่างคือไม่มีทางเลือก คนเป็นหนี้จะให้ไปกู้เงินหมื่น เงินแสน หรือเงินล้านมาทำลงทุนทำธุรกิจก็เป็นไปได้ยาก แต่ในจุดเริ่มต้นของการทำเครือข่ายขายตรงไม่ต้องลงทุนมากขนาดนั้น หลักร้อย หลักพันก็สามารถทำได้ หากเก่งหรือชำนาญเพิ่มมากขึ้นก็อาจจะลงทุนเพิ่ม นี่คือทางเลือกของขายตรง
คนพวกนี้มีความทุ่มเทจริงจัง ชนิดที่ว่าไม่มีอะไรจะเสีย คนเราเมื่อมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท จริงจัง รู้จักกลไกของคำว่าเครือข่ายขายตรงให้มันแตกฉาน รู้จักโครงสร้างของธุรกิจหลายชั้นที่เน้นการบริหารจัดการ รู้จักขยายเครือข่าย ขยายสายงาน ขยายมืออาชีพ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำอาชีพขายตรง บางคนเขาแทบไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะสายงานเป็นนักบริหารที่สามารถทำให้ทุกคนที่อยู่ใต้สายงาน รู้จักขยายเครือข่าย
การทำเครือข่ายมันทำให้ทุกคนในระบบเข้ามาซื้อกินซื้อใช้อยู่แล้ว ต้องมีการสะสมคะแนนครบตามกลไก จึงจะเกิดรายได้ นี่เป็นข้อบังคับจากแผนการจ่ายผลตอบแทน ดังนั้น จึงต้องเน้นการบริหารจัดการ เป็นมืออาชีพ เป็นนักวางแผน นั่นแหละจึงจะมีความสำเร็จในการทำธุรกิจเครือข่ายแบบยั่งยืน

ฌาฑิณี : การทำขายตรงยุคใหม่มีโอกาสสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยุคก่อน แล้วยุคไหนที่คนมีรายได้ถึงหลักแสนหลักล้านมากกว่ากัน
กาย ไพรินทร์ : ยุคก่อนๆ ก็สามารถสำเร็จได้ แต่จำนวนคนที่สำเร็จมีน้อย เนื่องจากผู้คนยังไม่ยอมรับอาชีพเครือข่ายเท่าใดนัก ถ้าบอกว่าขายตรงคนจะไม่ค่อยยอมรับ หาว่าเป็นเซลล์แมนเป็นพวกขายของ คนไทยก็เป็นแบบนี้มันถึงได้จนเจ็ดชั่วโค(ตร) คุณต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าอาชีพขายนี่แหละ จึงจะทำให้รวยได้ อาชีพอื่นไม่มีทางรวยเด็ดขาด ที่รวยๆ ก็โกงมาทั้งนั้นแหละ อย่างข้าราชการทั้งหลายแหล่ แม้จะระดับอธิบดีก็มีเงินเดือนไม่เกินแสนบาท อย่างนี้เอาที่ไหนมารวยถ้าไม่โกง โกงทั้งนั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ดังนั้น คนที่รวยๆ อยู่ในสังคมนี้ก็เป็นพ่อค้าวาณิชย์ เป็นนักธุรกิจ ทำแล้วได้กำไรเขาถึงได้รวย การค้าการขายจึงไม่ใช่อาชีพที่น่ารังเกียจของสังคม เราต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็เป็นข้าราชการ เพราะคิดว่าได้เป็นเจ้าคนนายคน ยุคนี้มันหมดสมัยไปแล้ว แต่อาชีพเครือข่ายขายตรงต่างหากที่เป็นโอกาสทองของชาวบ้านอย่างเราๆ ต้องหันมาทำอาชีพนี้ให้ได้ หากไม่ทำจะเสียโอกาสสร้างความร่ำรวย เพราะฉะนั้นต้องตีโจทย์ ตีประเด็นให้แตกฉานว่าอาชีพแบนี้ ดีหรือไม่ดีอย่างไร

ฌาฑิณี : เป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อยุคนี้มีบริษัทขายตรงกำเนิดขึ้นมากมาย การแข่งขันก็เพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่บริษัทขายตรงมีเพียงไม่กี่ค่าย อัตราผู้ประสบความสำเร็จจึงน่าจะมีมากกว่า
กาย ไพรินทร์ : ที่บอกว่าความสำเร็จยุคนี้เกิดขึ้นมากกว่ายุคก่อนก็เนื่องมาจาก ปัจจุบันประชาชนให้การยอมรับในอาชีพขายตรงมากขึ้น แม้คู่แข่งในสมัยก่อนจะน้อย แต่จิตใจผู้บริโภคเขาไม่ต้อนรับ แต่ตอนนี้ประชาชนเปลี่ยนไป เข้าใจว่าขายตรงเป็นอย่างไร มันจึงง่ายกว่า สมัยก่อนต้องไปพรีเซ็นต์สินค้าแบบปากต่อปาก ขณะที่ยุคนี้มีการย่นเวลาด้วยสื่ออินเตอร์เน็ตเพื่ออธิบายสินค้า จากที่เคยนั่งประชุม ก็อาจจะเปลี่ยนมาอธิบายสินค้าผ่านทีวีบ้าง วิทยุบ้าง หากมีการพูดเกินความจริง ก็มีหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็น อย. หรือ สคบ.เข้ามาดูแลอยู่แล้ว ก็ว่ากันไปตามกระบวนการ
เมื่อโลกเปลี่ยนไปเช่นนี้ เราก็ต้องเปลี่ยนนวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆ ด้วย บางบริษัทก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เนื่องจากติดภาพเก่าๆ แต่โลกเครือข่ายยุคใหม่มันเปลี่ยนไป เราต้องยอมรับประเด็นนี้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายมาบังคับว่าห้ามอธิบายสินค้าผ่านทีวี ดังนั้น ประชาชนย่อมมีสิทธิ์ทำธุรกิจผ่านทีวี โดยที่ไม่มีการโฆษณาเกินจริง บางคนที่คร่ำครึอยู่กับอดีต อยู่กับความรู้สึกเก่าๆ แบบนี้มันล้าหลัง และจะทำให้โอกาสธุรกิจเติบโตได้ยาก

ฌาฑิณี : ในยุคก่อนมีการใช้สื่อเพื่อการตลาดในรูปแบบใดบ้าง
กาย ไพรินทร์ : ส่วนใหญ่ก็เป็นการพูด จัดประชุม นานๆ ถึงจะออกสื่อ แบบนี้สู้ยักษ์ใหญ่ไม่ได้ อย่างยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดัง ใครๆ ก็รู้จัก แต่บริษัทคุณที่เป็นบริษัทเล็กๆ เพิ่งเปิดใหม่ แล้วเขาจะรู้จักคุณได้ไง เดี๋ยวนี้ต้องปฏิวัติพัฒนาการนวัตกรรมสร้างการตลาดแนวใหม่ เดี๋ยวนี้โลกยุคใหม่ทำกันเยอะแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่ก็ใช้สื่อเยอะ บางทีใช้เงินเป็นร้อยๆ ล้านต่อปี เพื่อสร้างภาพลักษ์ สร้างองค์กร สร้างองค์ความรู้ สร้างกลไกใหม่ๆ แล้วถ้าบริษัทคุณไม่มีแบบนี้ คุณจะไปแข่งกับเขาได้อย่างไร ดังนั้น การทำธุรกิจ
ยุคใหม่ ต้องอาศัยสื่อในการทำตลาดมากๆ

ฌาฑิณี : ถามถึงเรื่องความมั่นคงในการทำธุรกิจเครือข่าย จริงหรือไม่ที่อาชีพนี้จะสามารถทำเงินได้มากในช่วงแรก แต่พอผ่านไปสักพักงานจะหนักและเหนื่อยขึ้น จนมีหลายคนถอดใจจากอาชีพนี้ไปก็มาก
กาย ไพรินทร์ : ทุกอาชีพจะมั่นคงหรือไม่มั่นคง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัทเพียงอย่างเดียว บริษัทเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด บริษัทนั้นมั่นคงอยู่แล้ว แต่ตัวคุณต่างหากที่ไม่มั่นคง เพราะคุณไม่มีจิตวิญญาณที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นๆ ตัวอยู่บริษัทนี้ แต่ใจไปอยู่บริษัทอื่น หาช่องทางเฉไฉ แล้วผู้ประกอบการหรือผู้บริหารเขาจะไว้วางใจคุณได้อย่างไร คนเราอยู่ร่วมงานกันแต่ไม่ไว้ใจกัน โอกาสเติบโตอยู่ด้วยกันเป็นไปไม่ได้เลย พอคนเราอยู่ด้วยกันโดยขาดความไว้วางใจ สุดท้ายคุณก็จะอึดอัดใจผู้ประกอบการเขาก็ไม่มีความสุข เพราะคุณไม่มีความจริงใจกับองค์กรที่คุณอยู่ ผู้นำจำนวนมากล้มเหลวด้วยสาเหตุนี้
เราต้องร่วมแรงร่วมใจกันแบบจริงๆ จังๆ เจอปัญหาต้องร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ สำหรับผู้ประกอบการ แม่ทีม และสมาชิก เขาเรียกว่า มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน แบบนี้ต่างหากจึงจะนำพาองค์กรหรือธุรกิจไปสู่ความสำเร็จแบบยั่งยืน ไม่ใช่เจอปัญหาก็ทิ้งกันไป ไม่ร่วมต่อสู้ แบบนี้ไปอยู่ไหนก็ไม่มีความสำเร็จแบบยั่งยืน ได้แค่ชั่วคราว ดังนั้น การทำเครือข่ายต้องใช้ศาสตร์แห่งความจริงใจ ใจต้องประสานใจให้ได้ นี่คือหัวใจสำคัญเลย ถ้าเกิดมีแต่คำพูดอย่างเดียว แต่ไม่อยู่กันด้วยใจ แบบนี้มันต่อยอดไม่ได้ในระยะยาว สุดท้ายก็จบ ต่างคนต่างไปและแยกทางกันอยู่ดี

ฌาฑิณี : มีหลายคนที่เข้ามาทำธุรกิจเครือข่าย พอฐานะดีขึ้นก็เปลี่ยนไป นี่คืออุปสรรคสำหรับการทำอาชีพขายตรงหรือไม่
กาย ไพรินทร์ : ผมก็เห็นมาไม่น้อย สำหรับผู้นำหรือแม่ทีม แรกๆ อะไรก็ได้ทุกอย่าง แต่พอรวยแล้วหลงตัวเอง คุณไม่รู้หรอกว่าการที่คุณรวยขึ้นนั้น มันมาจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งบริษัท ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานต่างหากที่ส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จ แต่พอรวยแล้วกลับไม่เห็นหัวคนอื่น แบบนี้ไปได้ไม่นาน สุดท้ายก็ตายอยู่ดี
เมื่อเรารวยแล้วก็ควรทำตัวติดดิน ต้องส่งเสริมให้คนไม่รวยมีฐานะดีขึ้น มากบ้างน้อยบ้างก็ตามความสามารถความขยัน นี่คือจุดหลัก ไม่ใช่พอรวยแล้วไม่สนใจใคร ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เมื่อสมาชิกหรือคนใต้องค์กรไม่เติบโต เขาก็ไม่มีกำลังใจในการทำงาน เขาก็เลิก เมื่อเขาเลิกก็ไม่เกิดยอดขายในกลุ่ม
คน สุดท้ายก็ไปไม่ได้อยู่ดี
ผู้ประกอบการก็เช่นเดียวกัน แรกๆ ตอนที่บริษัทยังไม่ดัง ไม่ยิ่งใหญ่ แทบจะกอดคอกินส้มตำข้าวเหนียวกับสมาชิกหรือแม่ทีม แต่พอมียอดขาย 50 ล้าน 100 ล้าน ต่อเดือน ก็เริ่มเปลี่ยนไป แบบนี้ก็เข้าข่ายหลงตัวเช่นเดียวกัน คนจะประสบความสำเร็จในอาชีพเครือข่ายหรืออาชีพอะไรก็แล้วแต่ ต้องคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ ที่เราต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กันมา นี่คือหัวใจสำคัญที่จะฝ่าด่านอรหันต์ไปได้ นี่แหละจะทำให้กอดคอกันแน่น ร่วมแรงร่วมใจฝ่าฟันอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้าไม่นึกถึงความลำบาก นึกถึงแต่ตอนที่รวย สุดท้ายก็จะไม่มีเพื่อนที่พร้อมร่วมทุกข์สุข
เพื่อนมีอยู่ 2 อย่าง คือเพื่อนแบบจริงใจ และเพื่อนที่ไม่จริงใจ ถ้าเป็นผมจะเอกเพื่อนที่มีความจริงใจมากกว่า เพราะเพื่อนคืออาวุธที่จะนำพาพร้อมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเรา ให้ก้าวไปสู่ความมั่นคงอย่างยิ่งใหญ่และยั่งยืนได้ นี่คือคาถาของการสร้างความสำเร็จแบบยั่งยืน

ฌาฑิณี : เราจะมีวิธีสร้างความมั่นคงให้อาชีพเครือข่ายอย่างไร โดยที่ไม่ต้องย้ายค่ายบ่อยๆ คืออยู่ที่เดิมจนกระทั่งเป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานไปเลย
กาย ไพรินทร์ : เราต้องสร้างตัวเองให้เป็นมืออาชีพให้ได้ อย่าหลงตัวเองว่า เป็นมืออาชีพ คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าตัวเองเก่ง รู้มาก รวยแล้ว อย่างที่บอกว่าความรวยไม่ได้เกิดจากความสามารถของเราอย่างเดียว มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น บริษัท ทีมงาน ดังนั้น เราต้องภูมิใจในความสำเร็จที่เกิดจากตัวเราเอง ความสามารถต้องสามารถทุกรูปแบบ รุกรบทุกรูปแบบ วางกลไก วางโครงสร้างทุกรูปแบบให้ได้ ส่วนอื่นให้เป็นเพียงองค์ประกอบเสริม
นี่คือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมากกว่า หากเราไปหลงตัวเอง สุดท้ายเราก็ไปไม่ถึงดวงดาวและล้มเหลวอยู่ดี เพราะฉะนั้นการทำอาชีพเครือข่ายมันล่อแหลมหลายอย่าง เพราะบางทีบรรยากาศต่างๆ ก็พาไป เคลิ้มตามกระแสบ้าง เคลิ้มตามคำยกยอปอปั้นของผู้คน บางทีมีคนมาเรียกเราว่า เป็นอาจารย์ ทำให้เราเคลิ้มตามและเสียคนได้ จงเป็นตัวของตัวเอง มีจุดยืน มีความหนักแน่น มุ่งมั่น อย่างนี้ต่างหากถึงจะนำพาทีมงานหรือองค์กรของเราไปสู่ความยิ่งใหญ่ ยั่งยืน

ฌาฑิณี : การที่โอนสายงานให้เป็นมรดกตกทอดแก่รุ่นลูก แต่พอเอาเข้าจริงทีมงานก็แตกกระจายไปอยู่ที่อื่น นั่นเกิดจากอะไร
กาย ไพรินทร์ : จริงๆ การโอนให้เป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานนั้น ในเชิงปฏิบัติค่อนข้างมีน้อย ถามว่าทำไมถึงน้อย ไม่ใช่บริษัทที่เป็นคนไปจำกัด เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถสร้างลูกสร้างหลานให้มาบริหารในโครงสร้างเครือข่ายได้ คนเราจะมาทำอาชีพเครือข่ายไม่ใช่อาศัยบุญหล่นทับเท้าแล้วจะมาบริหารคนสำเร็จ แบบนี้ไม่ได้ เราต้องมีความแตกฉาน มีความเข้าใจเรื่องนั้นๆ ต้องสร้างศรัทธาให้ผู้คนที่อยู่ล่างๆ เราลงไป
สมมติว่าพ่อของเราเคยอยู่หัว วันหนึ่งเกิดอยากเกษียณอายุการทำงาน ก็ได้มอบมรดกตกทอดมาให้กับเราช่วยบริหาร ถ้าเกิดเราเป็นคนไม่เอาถ่าน ไม่ใช่นักบริหาร ไม่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจเครือข่ายขายตรง สุดท้ายสมาชิกเขาก็ไม่อยู่กับเราหรอก เป็นผมก็ไปเหมือนกัน ใครๆ ก็อยากทำงานกับคนที่เก่งกว่า เชี่ยวชาญฉลาดมากกว่า มันจึงจะเกิดความมั่นคงและยั่งยืน ขืนให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานมาบริหารทั้งๆ ที่ไม่มีความสามารถจะสร้างความสำเร็จ อย่างนี้ก็รอวันตายลูกเดียว นี่คือเหตุผล ว่าทำไมการโอนเครือข่ายให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานถึงมีน้อยมากๆ
ดังนั้น เราต้องสร้างโครงสร้างการบริหารให้ชัดเจน คนที่มารับช่วงต่อก็ต้องเป็นมือบริหารที่วิสัยทัศน์ดีด้วย นำพาให้ผู้คนยอมรับ ศรัทธาในตัวเราและองค์กรของเรา นี่แหละ ถึงจะนำพาให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอาชีพเครือข่ายขายตรงได้

ฌาฑิณี : หากคนรุ่นใหม่สนใจเข้ามาทำธุรกิจเครือข่าย จะมีข้อสังเกตในการเลือกบริษัทที่มีความมั่นคงอย่างไรบ้าง
กาย ไพรินทร์ : เราเลือกบริษัทที่เป็นไปได้ อันดับแรกดูจากสินค้าว่าเป็นไปได้ไหม ใช้แล้วเห็นผลดีไหม ตรงนี้สำคัญมาก ตอนแรกอาจจะแค่สมัครสมาชิก ทดสอบสินค้าดูก่อน ยังไม่ต้องชวนคนอื่น เมื่อใช้จนเกิดความมั่นใจว่าสินค้าตัวนี้ดีจริง จึงค่อยไปแนะนำคนอื่นมาใช้ ไม่ใช่ยังไม่เคยทดลองก็ไปชวนคนอื่นแล้ว แบบนี้เหมือนการหลอกกัน ถ้าเริ่มต้นด้วยการหลอก ต่อไปก็คงไม่ดี เริ่มจากความจริงดีกว่า จะได้ประสบความสำเร็จในระยะยาว
คำว่าใช้ดีก็ไม่ต้องดีถึง 100 เปอร์เซ็นต์หรอก เพราะมันคงเป็นไปไม่ได้ เอาเป็นว่าดีซัก 70-80 เปอร์เซ็นต์ก็พอ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามสมควร นั่นแหละจะทำให้เกิดการซื้อซ้ำ คนไปแนะนำและคนมาร่วมงานกับเราก็เกิดความสบายใจในการทำงาน เราต้องยึดตรงนี้เป็นหลักเสียก่อน
ต่อมาก็ดูเรื่องแผนการจ่ายผลตอบแทน ดูว่าทันสมัยหรือไม่ ทำยากง่ายแค่ไหน ดู 2 อย่างนี้ไปก่อน ถ้าโดนใจก็ค่อยเริ่มปฏิบัติการ องค์ประกอบทั้งสองข้อนี้จะนำพาให้เราไปสู่ความสำเร็จในอนาคต


ที่มา:หนังสือพิมพ์ตลาดวิเคราะห์




ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
เน็ตเวิร์คมาร์เก็ตติ้ง ที่รวม3เทรนด์แห่งศตวรรษ เป็นหนึ่งเดียว..คลิ๊ก!!!




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น