วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความเชื่อที่สร้างพลังผลักดันเศรษฐกิจที่ก้าวไกล




ที่สร้างพลังผลักดันเศรษฐกิจที่ก้าวไกล
โลกของเราเต็มไปด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ความคิดก็เป็นพลังงานที่แผ่ซ่านไปทั่วทุกซอกทุกมุม ความเชื่อเป็นความคิดอันทรงพลังที่สามารถทำให้คนเรารุ่งเรืองหรืออับเฉาได้ มันสามารถดึงดูดเศรษฐกิจที่สมบูรณ์หรือทำให้เศรษฐกิจซบเซา เมื่อมันแผ่รัศมีออกจากคนๆหนึ่งมันสามารถซึมซับเข้าไปในตัวของบุคคลอีกคนหนึ่งได้ หากเรามีความเชื่อที่เป็นบวกมันก็จะสามารถดึงดูดบุคคลและสิ่งที่เป็นบวกเข้ามาสู่ตัวเราได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากเราเชื่อว่าเศรษฐกิจจะต้องก้าวไกลมันก็จะต้องก้าวไกลตามที่เชื่อไม่ช้าก็เร็ว

นโปเลียน ฮิลล์ เป็นคนแรกที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับความสำเร็จที่แผ่พลังงานออกมาจากความคิด สมัยที่เขาเป็นหนุ่มยังยากจนเขาไปสัมภาษณ์อภิมหาเศรษฐีคนแรกของโลกเพื่อจะนำมาเขียนบทความ อภิมหาเศรษฐีผู้นั้นคือ แอนดรู คาร์เนกี ซึ่งอพยพมาจาก สก็อตแลนด์กับพ่อแม่ตอนที่มีอายุเพียงสิบสองปี และกลายเป็นผู้สร้างอาณาจักรเหล็กกล้าในอเมริกา หลังจากสัมภาษณ์พูดคุยกันหมดไปหนึ่งวัน แอนดรู เชื้อเชิญให้ นโปเลียนอยู่ต่ออีกสักสองสามวันเพื่อพูดคุยปรัชญาความสำเร็จให้เอร็ดอร่อย ตอนท้ายของการพูดคุย เขาถาม นโปเลียน ฮิลล์ ว่า “ถ้าผมจะให้งานคุณอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องกินเวลายี่สิบปี โดยที่ผมจะไม่จ่ายเงินให้คุณเลยสักเหรียญเดียว และงานนี้จะสร้างผลดีให้กับคนทั่วโลกอย่างมหาศาล คุณจะรับทำไหม”
นโปเลียน เล่าให้ฟังภายหลังจากนั้นอีกหลายสิบปีต่อมาว่า ตอนนั้นเขาล้วงลงไปในกระเป๋าไม่มีเงินเหลือนอกจากค่ารถกลับบ้าน อะไรกันเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกให้งานทำแต่ไม่จ่ายเงินสักแดงเดียว เขาเล่าให้ฟังต่อไปว่า จากที่รู้มาว่า แอนดรู คาร์เนกี เป็นผู้ที่รู้จักใช้คน ฮะฮ้า ถ้าอย่างนั้นก็จะต้องมีดีอะไรอยู่ในตัวเรานะซิ เขาจึงได้เลือกให้เราทำงาน นโปเลียน จึงรับปากอย่างแข็งขันไปทันที เขาบอกว่า มหาเศรษฐีของโลกแสดงความยินดีกับเขา แล้วพูดว่า “นี่เธอรู้ไหม เธอใช้เวลาตัดสินใจยี่สิบเก้าวินาที หากเธอตัดสินใจเกินหกสิบวินาที ฉันจะไม่ให้งานนี้แก่เธออย่างเด็ดขาด คนที่จะประสบความสำเร็จ เป็นคนที่ตัดสินใจรวดเร็วและเด็ดขาด”
จากปรัชญาที่สะสมอยู่ในตัวของผู้ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นเศรษฐีทั้งหลายในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นจาก เฮ็นรี่ ฟอร์ด ผู้ผลิตโรงงานประกอบรถยนต์เป็นสายการผลิตคนแรก หรือ โธมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก และคนอื่นๆ ซึ่งมีหลักการสู่ความสำเร็จอยู่ในใจแต่ไม่ได้นำมาเขียนไว้ ก็ได้ถูกวิเคราะห์รวบรวมมาเป็นปรัชญาแห่งความสำเร็จในหนังสือสิบกว่าเล่มเป็นครั้งแรกของโลก เปิดเผยวิธีการแน่นอนที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จตามความมุ่งมั่น และหนังสือที่โด่งดังที่สุดและได้สร้างมหาเศรษฐีในยุคต่อๆมาอีกหลายร้อยหลายพันคน คือ Think and Grow Rich หรือ คิดแล้วรวย
ความคิดมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกรอบตัวเรา และความเชื่อคือความคิดที่ทรงพลังมากที่สุดซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะได้หรือไม่ได้อะไร เศรษฐกิจของเราทั้งส่วนบุคคลหรือประเทศชาติจะโตหรือไม่โตก็มาจากความเชื่อ ในยุคเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา ดับเบิล ยู เคลเมนต์ สโตน ลูกศิษย์อันดับต้นๆที่เชื่อถือปรัชญาที่ นโปเลียน ฮิลล์ รวบรวม ใช้พลังความเชื่อขับดันทีมขายประกันของเขาจนทำให้เศรษฐกิจของบริษัทสวนทางกับเศรษฐกิจของโลก เขากลายเป็นเจ้าพ่อประกันผู้ยิ่งใหญ่ สั่งสอนวิชาประยุกต์ของ นโปเลียน ฮิลล์ ให้แก่ผู้คนในแบบของ Positive Mental Attitude หรือทัศนคติเชิงจิตทางบวก ซึ่งก็หนีไม่พ้นเรื่องการสร้างความเชื่ออันแข็งแกร่งในทางบวกว่าอนาคตจะต้องดีอย่างแน่นอน
ความคิดไม่มีตัวตน แต่หากมันถูกผลักดันด้วยความเชื่ออันแข็งแกร่งประดุจหินผา มันก็สามารถทำให้คนเพียงคนเดียวนำผู้คนเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของโลกได้ อเล็กซานเดอร์มหาราช เชื่อว่าเขาสามารถครอบครองโลกทั้งโลกได้ เขาจึงได้นำพากองทัพอันยิ่งใหญ่ตะลุยมาถึงอินเดียสร้างผลกระทบทั้งทางอารยธรรมและความย่อยยับอับปาง ฮิตเล่อร์ เชื่อในความเป็นอารยันของเผ่าพันธุ์ ของตนทำให้สิบโทคนหนึ่งกลายเป็นผู้นำประเทศสร้างกองทัพอันยิ่งใหญ่มหาศาลขึ้นมาจากความทรุดโทรมของประเทศ ล้างเผ่าพันธุ์ของชนชาติอีกชนชาติหนึ่ง นำโลกเข้าสู่สงครามแห่งความหายนะ ญี่ปุ่นยุคที่เชื่อในความเกรียงไกรของกองทัพที่ครองอำนาจทำให้ประเทศกลายเป็นเสือเหลืองที่ขยายอิทธิพลไปจนทำให้ประเทศต้องถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง มหาตมะ คานธี เชื่อในการต่อสู้แบบอหิงสา เปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศอินเดียที่เป็นเมืองขึ้นกลายเป็นประเทศที่มีอิสรภาพ คุณแม่เทเรซ่า เชื่อในความรักของพระเจ้าอย่างมั่นคง ทำให้เธออุทิศตนให้กับผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากอย่างยิ่งใหญ่ไปจนถึงวันที่เธอสุดสิ้นลมหายใจ
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากความเชื่อของคน ไม่กี่คน เช่น ฮอนด้า หรือ มัสซุชิตะ ที่สร้างอุตสาหกรรมครองโลก Michael E. Porter ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ในหนังสือ The Competitive Advantage of Nations (1990) ของเขา กล่าวถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศที่แข็งแกร่งมาจากระบบเศรษฐกิจจุลภาค (microeconomics) ซึ่งมีรัฐบาลสนับสนุน เขาเชื่อในการแข่งขันลึกไปถึงระดับบุคคลที่มีความชำนาญพิเศษที่จะสร้างชาติขึ้นมาไม่ใช่ระบบอุตสาหกรรมอันยิ่งใหญ่ clusters คือกลุ่มบริษัทย่อยที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นระบบไม่จำกัดแหล่งที่ตั้งทว่ามีเครือข่ายการประสานอันแข็งแกร่ง คล้ายกับแนวความคิด OTOP ที่ประเทศเราใช้ และแน่นอนว่า กลุ่มบริษัทย่อยเหล่านั้นย่อมมีบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของ และความเชื่อทางเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของบุคคลเหล่านั้นจะทำให้เศรษฐกิจของบริษัทและประเทศชาติก้าวไกล
เศรษฐีคนหนึ่งในประเทศไทยในตอนที่เขายังยากจน เดินลึกลงไปในทะเลที่ไม่มีผู้คน เขาไม่ได้คิดฆ่าตัวตาย เขาเดินไปตะโกนเสียงดังที่สุดไปยังขอบฟ้าว่า ข้าจะประสบความสำเร็จ และจากวันนั้นไปเมื่อสมองของเขาเชื่อเช่นนั้นชีวิตของเขาก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป นโปเลียน ฮิลล์ เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่เขารับปากกับ แอนดรู คาร์เนกี ว่าจะรับทำงาน แอนดรู บอกกับเขาว่า “นโปเลียน ทุกเช้าให้เธอมองตาตัวเองในกระจกด้วยจิตใจมุ่งมั่นที่สุด แล้วบอกกับตัวเองว่า แอนดรู คาร์เนกี ฉันจะเป็นเศรษฐีที่ร่ำรวยกว่านายในอนาคต คอยดูนะ” นโปเลียน หันไปทันทีแล้วพูดว่า “นี่คุณจะเสียสติไปแล้วหรือไง ใครๆก็รู้ว่าคุณเป็นอภิมหาเศรษฐีของโลกอยู่ทุกวันนี้” แอนดรู บอกด้วยเสียงต่ำอย่างมั่นคงว่า “นโปเลียน แน่นอนที่สุดว่าเธอจะไม่มีวันรวยไปกว่าฉันได้ หากเธอเชื่อเช่นนั้น แต่วันใดที่เธอเชื่อ เธอก็จะมีโอกาสรวยกว่าฉัน” แล้วคุณล่ะ ไม่ลองไปตะโกนในป่า ในทะเล หรือต่อหน้ากระจกบอกตัวเองจนกว่าจะเชื่อว่าเศรษฐกิจทั้งของตัวคุณและของบริษัทจะต้องก้าวไกล บ้างหรืออย่างไร? ถ้าคุณเชื่อถึงระดับจิตใต้สำนึก คุณก็มีโอกาสอย่างแน่นอน!
ขอให้ท่านรู้สึกได้ว่าชีวิตของท่านเปี่ยมพลังอยู่แล้ว จงใช้ชีวิตอย่าง เปี่ยมพลัง!!!
ด้วยรัก
พันโท ภูมิสิษฐ์ ชินบุตรวงศ์/อานันท์ ชินบุตร


ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
เน็ตเวิร์คมาร์เก็ตติ้ง ที่รวม3เทรนด์แห่งศตวรรษ เป็นหนึ่งเดียว..คลิ๊ก!!!


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น